บ้านหลังเล็ก พลิกดีไซน์นำนิยามชีวิตแบบ “ติดฝ้า”

อีกด้านหนึ่งคือส่วนของห้องนอน จากเดิมที่เคยกั้นด้วยผนังทึบถูกแทนที่ด้วยฉากไม้สูงจรดเพดาน เป็นเหมือนการแสดงขอบเขตของพื้นที่แต่ละฟังก์ชัน ระนาบเตียงอยู่ในระดับเดียวกับชานพื้นไม้ริมระเบียง โอบล้อมด้วยตู้เสื้อผ้าบิลท์อินที่มีบานเปิดเรียบเนียนไม่ต่างจากผนังเมื่อผนังทั้งหมดได้รับการลดทอนลงแบบนี้ พื้นที่ใช้สอยในบ้านจึงดูเชื่อมต่อถึงกันเป็นเนื้อเดียว ให้ความรู้สึกกว้างขวางขึ้นไปโดยปริยาย

erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-22
ผนังรอบเตียงออกแบบให้เป็นตู้เสื้อผ้าบิลท์อินและช่องเก็บของบานตู้สีขาวสะอาดตาตัดกับลายไม้สีอ่อนดูอบอุ่น เช่นเดียวกับภาพรวมของทุกส่วนในบ้าน
erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-20
ชั้นวางของไม้สีเดียวกับทางเดินไม้ในส่วนของห้องนอน เป็นทั้งชั้นวางของและตัวหยุดสายตา และยังเชื่อมต่องานตกแต่งไม้ขึ้นไปยังฝ้าเพดาน ให้ความรู้สึกลื่นไหลเชื่อมต่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-21
ฉากไม้สูงจรดเพดานปิดบังบางส่วนของพื้นที่นอนไว้ เบื้องหลังแผ่นไม้ลายสวยคือที่นอนระดับเดียวกับชานพื้นไม้นอกระเบียง เพื่อช่วยให้สเปซในบ้านดูโล่งและอยู่สบาย

ส่วนผนังกระจกผืนยาวจากเดิมที่เคยกั้นระหว่างพื้นที่ภายในบ้านกับระเบียงภายนอกได้ถูกขยายให้กินพื้นที่ระเบียงออกไป เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านนอกจากนี้ยังทำทางเดินไม้ตลอดความยาวของห้องเพื่อแก้ปัญหาระดับพื้นที่ไม่เท่ากัน แถมใต้ทางเดินไม้ยกระดับยังแอบมีช่องเก็บของ สามารถใช้พื้นที่ทุกตารางเมตรของบ้านได้อย่างคุ้มค่า มากไปกว่านั้นแผ่นพื้นไม้ทางเดินในส่วนครัวยังสามารถยืดขึ้นลงใช้ประโยชน์เป็นโต๊ะอเนกประสงค์ได้ นอกจากนี้ยังมีลูกเล่นการจัดการพื้นที่เศษเหลืออื่น ๆ อีกหลายส่วนจนกลายเป็นเอกลักษณ์ของบ้านหลังเล็กหลังนี้ อาทิ ผนังรอบเตียงออกแบบให้กลายเป็นตู้เสื้อผ้า ผนังรอบ ๆ ครัวซ่อนตู้เย็นและตู้เก็บของไว้ และมีช่องเก็บของอีกมากมายที่แฝงอยู่ในผนังและชั้นวางของเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย

erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-10

erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-12
รายละเอียดภาพรวมของครัวประกอบด้วยอ่างล้างมือเล็ก ๆ เตาอบ ช่องเก็บตู้เย็น และช่องเก็บของที่ซ่อนอยู่ในผนังสีขาวด้านหลัง ทั้งหมดเชื่อมถึงกันด้วยทางเดินรูปตัวยู (U) โดยมีโต๊ะอเนกประสงค์ตั้งอยู่ตรงกลาง

ท้ายที่สุดด้วยระยะฝ้าที่สูงเกือบสองเท่าของบ้านทั่วไปนักออกแบบได้มองเห็นข้อดีของส่วนนี้ด้วยการออกแบบฟังก์ชันสนุก ๆ โดยเพิ่มช่องแบบกล่องลึกเข้าไปเหนือผนังส่วนห้องครัวคล้าย “ห้องขนาดจิ๋ว” เชื่อมชั้นล่างและบนด้วยบันไดเหล็ก เป็นการขยายพื้นที่ใช้งานในแนวตั้งโดยสามารถใช้พื้นที่ส่วนนี้เป็นที่เก็บของ หรือแม้แต่นั่งเล่นนอนเล่นได้ตามอัธยาศัย

erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-13
บันไดเหล็กสีดำที่พาดไว้บนผนังห้องครัวสีขาวสะอาดตา นำไปสู่ช่องใต้เพดานเล็ก ๆ ที่นักออกแบบตั้งใจทำเผื่อไว้ให้เจ้าของขึ้นไปนั่งเล่นหรือใช้เก็บของได้ เป็นลูกเล่นการออกแบบที่ใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด

erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-17

เรียกได้ว่าบ้านเล็กหลังนี้เต็มไปด้วยรายละเอียดการออกแบบเพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วของบ้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด พื้นที่อันจำกัดจึงเป็นเหมือนเงื่อนไขนำไปสู่แนวคิดการออกแบบที่ท้าทายวัฒนธรรมการใช้ชีวิตติดพื้นแบบชาวตะวันออก พร้อมนำเสนอการใช้ชีวิตแบบ“ติดฝ้า” ด้วย และอาจเป็นเหตุผลให้บ้านหลังนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แสดงให้เห็นชัดถึงกระบวนการคิดที่ลึกซึ้งจนได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ เพราะไม่ได้เป็นเพียงบ้านที่สวย แต่คือที่อยู่อาศัยที่สามารถให้ความสุขได้อย่างเต็มเปี่ยม

erm_166_p112-128_rm-to-rm-02-23
พื้นที่ระเบียงด้านนอก นักออกแบบอธิบายถึงข้อดีของผนังที่มีความสูงค่อนข้างมากนี้ว่า สามารถคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้สูง เพราะช่องเปิดที่สูงจรดเพดานจะช่วยดึงทัศนียภาพของวิวท้องฟ้าเข้ามา ในขณะเดียวกันพื้นที่ผนังด้านล่างยังช่วยบดบังวิวที่ไม่น่ามองด้านนอกได้ด้วย

ออกแบบสถาปัตยกรรม : Seren Huang และ Debby Wu จาก Folk Design Taipei, Taiwan


เรื่อง : Korrakot L.
ภาพ : Hey!Cheese ภาพประกอบ คณาธิป