ห้องเรียนพอดีพอดี บรรเทาวิกฤติด้วยโอกาส

โรงเรียนโป่งแพร่วิทยา

ออกแบบ : Department of Architecture โดยคุณทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ

คุณทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ออกแบบอาคารหลังนี้ในภาพที่คุ้นชินคือเป็นอาคารหลังคาจั่วยาวต่อเนื่องกันเป็นห้องเรียนสามห้อง แต่ในรายละเอียดนั้นตั้งแต่โครงสร้างเหล็กที่มีการ cross bracing ทั้งสามแกนเพื่อรับมือกับแรงแผ่นดินไหว ใช้ผนังเบาซึ่งออกแบบให้เป็นไม้ระแนงและการออกแบบหลังคาสองชั้นเพื่อการไหลเวียนของอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ จากภายนอกจะมองเห็นโครงสร้างทั้งหมดนี้ได้อย่างชัดเจน ไม่มีการปิดซ่อนไว้ รวมถึงการซ้อนหลังคาด้วยวัสดุที่ยืดหยุ่นอย่างผ้าตาข่ายทับลงบนหลังคาเมทัลชีต เพื่อป้องกันความร้อนและลูกเห็บในฤดูหนาว ทำให้ห้องเรียนพอดีพอดีของโรงเรียนโป่งแพร่วิทยานั้นไม่ธรรมดาเลยทีเดียว

ในการออกแบบสถาปัตยกรรมนั้นบางครั้งความหวือหวาอาจไม่ใช่คำตอบ แต่การสร้างสิ่งที่คุ้นชิน ใช้งานง่าย และเหมาะสมกับการใช้งานนั้นอาจเป็นคำตอบของคำว่าพอดีมากกว่า และมากกว่านั้นคือการนำพาเอาความคุ้นชินเหล่านั้นไปให้ไกลกว่าทั้งการใช้งาน  ความแข็งแรง และความงาม ซึ่งห้องเรียนพอพอดีแห่งนี้ทำได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ห้องพักครูเป็นอาคารต่อเนื่องจากห้องเรียนซึ่งใช้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบเดียวกัน
ห้องพักครูเป็นอาคารต่อเนื่องจากห้องเรียนซึ่งใช้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบเดียวกัน
อาคารเรียนที่แลดูกลมกลืนไปกับสภาพรอบข้าง แต่แฝงไว้ด้วยรายละเอียดที่น่าสนใจ
อาคารเรียนที่แลดูกลมกลืนไปกับสภาพรอบข้าง แต่แฝงไว้ด้วยรายละเอียดที่น่าสนใจ
หลังคาสองชั้นที่ช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดและลูกเห็บในฤดูหนาว
หลังคาสองชั้นที่ช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดและลูกเห็บในฤดูหนาว
เด็กๆนั่งเล่นบริเวณด้านหน้าห้องเรียน
เด็กๆนั่งเล่นบริเวณด้านหน้าห้องเรียน
ห้องเรียนมีการออกแบบผนังเพื่อการไหลเวียนที่ดีของอากาศ รวมทั้งมีช่องเปิดที่ด้านบนของหลังคาเพิ่มการไหลเวียนของอากาศอีกด้วย
ห้องเรียนมีการออกแบบผนังเพื่อการไหลเวียนที่ดีของอากาศ รวมทั้งมีช่องเปิดที่ด้านบนของหลังคาเพิ่มการไหลเวียนของอากาศอีกด้วย