ร้านหนังสือ สมมติ & the OBJECT ของสำนักพิมพ์สมมติ

‘สมมติ & the OBJECT’ – พื้นที่ความจริงบนสิ่งสมมุติ

ร้านหนังสือ สมมติ & the OBJECT ของสำนักพิมพ์สมมติ
ร้านหนังสือ สมมติ & the OBJECT ของสำนักพิมพ์สมมติ

“เพราะการอ่านเป็นเรื่อง…สมมุติ” นี่คือประโยคที่คุณต้อง ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุเจ้าของและหนึ่งในบรรณาธิการสำนักพิมพ์สมมติบอกกับเรา เมื่อถามถึงที่มาของชื่อสำนักพิมพ์ ก่อนที่จะต่อยอดมาเป็นแนวคิดในการสร้างพื้นที่เล็ก ๆ ‘ สมมติ & the OBJECT ‘ ให้คนอ่านหนังสือและคนทำหนังสือได้มาพบปะกัน

บนพื้นที่ขนาด 10 x 11 เมตร กลางลานโล่งแห่งนี้ ได้รับการเนรมิตให้เป็นทั้งที่ทำการของสำนักพิมพ์ ร้านหนังสืออิสระ ร้านเครื่องเขียน และเป็นจุดนัดพบของคนรักหนังสือในย่านฝั่งธนฯ สมมติ & the OBJECT ออกแบบโดยทีมสถาปนิกจาก Studio Mahatsachan ซึ่งมีแนวคิดในการออกแบบและวางผังอาคาร 2 ประเด็นหลัก  ๆ

สมมติ & the OBJECT

ประเด็นแรก คือ การสร้างบรรยากาศที่แตกต่างกันระหว่างภายนอกและภายในอาคาร ด้วยการใช้ลำดับการเข้าถึงและมุมมองมาเป็นตัวเล่าเรื่อง  ส่วนประเด็นที่สอง คือ เรื่องทิศทางและความร้อนจากแสงแดด แม้จะดูเหมือนเป็นประเด็นเล็กน้อยแต่ก็มีความสำคัญและส่งผลอย่างมากกับพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งตั้งอยู่กลางลานคอนกรีตที่ไม่มีร่มเงาของอาคารข้างเคียงหรือต้นไม้สักต้นช่วยบดบัง

tae161123_panorama1

tae161123_panorama4
ด้วยความได้เปรียบในเรื่องที่ตั้งซึ่งอยู่กลางพื้นที่โล่ง ในช่วงใกล้ค่ำจะมองเห็นเงาของต้นไม้และตัวอาคารที่ตัดกับท้องฟ้าเป็นเหมือนภาพซิลลูเอตต์ และทำให้มองเห็นขอบเขตของร้านได้อย่างชัดเจนมากขึ้น

tae161122_004

ขอบเขตของร้านถูกกำหนดด้วยแนวรั้วแบบครึ่งทึบครึ่งโปร่ง มีเพียงตัวอาคารรูปตัวแอล (L) ซึ่งเป็นส่วนที่ทึบที่สุดวางขวางอยู่ทางทิศตะวันตก และวางตำแหน่งห้องทำงานให้เปิดหน้าต่างออกไปทางทิศเหนือ เมื่อมองเข้ามาจากด้านหน้าโครงการจะเห็นเพียงผนังสีดำผืนใหญ่ด้านหลังของร้านเท่านั้น เนื่องจากดีไซเนอร์ตั้งใจออกแบบให้อาคารยังไม่เปิดเผยตัวและไม่สร้างปฏิสัมพันธ์ใด ๆ กับผู้ใช้งานในทันที แต่จะค่อย ๆ ปรากฏความพิเศษขึ้นก็ต่อเมื่อเดินเข้ามาด้านใน โดยจะเริ่มมองเห็นพื้นที่ร้านหนังสือที่ต่อเนื่องกับสนามหญ้า มีต้นไม้ใหญ่ มีมุมนั่งเล่นบนชานไม้ จากจุดนี้จะมองเห็นหนังสือนับพันเล่มที่เรียงอยู่บนชั้นหนังสือที่ทำจากแผ่น OSB กรุด้วยไม้วีเนียร์สีอ่อน สร้างบรรยากาศที่ดูอบอุ่นตัดกับสีดำ และเส้นสายแข็ง ๆ ของตัวอาคารภายนอก

iso

tae161123_panorama2

นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่าง คือ กระบวนการก่อสร้าง เนื่องจากข้อจำกัดทางเวลาและเงื่อนไขของที่ตั้ง ผู้ออกแบบจึงเลือกใช้ระบบอาคารสำเร็จรูป (Prefabricated Building) หลังจากได้ข้อสรุปเรื่องแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้วจึงสั่งผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่โรงงานเพียง 30 วัน และใช้เวลาติดตั้งที่หน้างานอีกเพียง 3 วัน นับว่ารวดเร็วมาก เมื่อเทียบกับการก่อสร้างระบบทั่วไป

tae161122_005
สถาปนิกตั้งใจให้ผู้มาเยือนค่อย ๆ ลำดับการเข้าถึง ด้วยการเดินเท้าจากทางเข้าหลักผ่านพื้นหินกรวด แล้วค่อย ๆ เดินสู่พื้นสนามหญ้า มองเห็นต้นไม้ใหญ่แล้วจึงเผยให้เห็นตัวร้านเป็นลำดับสุดท้าย
tae161123_panorama1
บุคลิกที่ชัดเจนของสำนักพิมพ์ ได้รับการสะท้อนออกมาในรูปแบบของหนังสือ โลโก้ รวมทั้งตีความออกมาเป็นลักษณะของอาคารด้วยเส้นสายที่ดูหนักแน่น ชัดเจน และสงบนิ่ง

สมมุติว่าถ้าคุณได้ผ่านไปแถวถนนกาญจนาภิเษก และสมมุติว่าวันนั้นคุณไม่ได้รีบร้อนไปไหน ลองแวะเข้าไปเยี่ยมชมบรรยากาศจริงในพื้นที่สมมุติแห่งนี้ดูสักหน่อย คุณอาจจะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ ๆ ในโลกวรรณกรรม รวมถึงได้หนังสือดี ๆติดไม้ติดมือกลับมาบ้านโดยไม่ใช่เรื่องสมมุติ!

tae161123_panorama7
แม้พื้นที่ร้านจะมีขนาดไม่มากแต่ด้วยขนาดของชั้นวางที่สัมพันธ์กับขนาดหนังสือ ทำให้สามารถจัดวางหนังสือบนชั้นได้นับพันเล่ม ทั้งยังมีพื้นที่มากพอสำหรับจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “the objects” ซึ่งทุกชิ้นออกแบบขึ้นเป็นพิเศษเพื่อให้มีส่วนเชื่อมโยงกับวรรณกรรมอีกด้วย

tae161123_panorama11 tae161123_panorama16