หมู่บ้านจันทรา พอเพียงในสิ่งที่มี น้อมนอบต่อธรรมชาติ

หมู่บ้านหนึ่งที่อำเภอปาย ที่นั่นเป็นชุมชนเล็กๆของชาวญี่ปุ่นที่ดำรงชีวิตอย่างแสนจะถ่อมตนและนอบน้อมกับธรรมชาติ แม้อยู่บนแผ่นดินที่ไม่ใช่บ้านเกิดเมืองนอน บ้านของพวกเขาเป็นบ้านที่สร้างอย่างเรียบง่ายจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น เป็นบ้านดินบ้าง บ้านเรือนเครื่องผูกบ้าง พวกเขาปลูกผักไว้รับประทาน ทำงานศิลปะ วาดรูป ร้องรำทำเพลง เป็นเสมือนกับเรื่องราวในนิทานมากจริงๆ

หมู่บ้านจันทรา

jun130124-010

เดินทางถึงหมู่บ้านนี้ เราได้พบกับคุณโตรอน ผู้ก่อตั้งหมู่บ้านจันทรา หรือ Moon Village แห่งนี้ซึ่งมีสมาชิกอยู่ 5 ครอบครัว ทั้งชาวไทยและญี่ปุ่น ตลอดทั้งปีจะมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่เดินทางจากประเทศต่างๆแวะมาพักด้วยเสมอ ชีวิตของพวกเขาที่นี่ดำเนินไปอย่างเรียบง่าย ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา มีเพียงน้ำจากลำเมืองเล็กๆและแสงเทียนในยามค่ำคืน ทว่าทุกคนดูมีความสุขและพอใจกับวิถีชีวิตที่เลือก

jun130124-002

jun130124-187

jun130124-026

ครอบครัวของโตรอนซังประกอบไปด้วยคุณฮารูกะ-ภรรยา ลูกชายและลูกสาวเขาอยู่เมืองไทยมาได้ 11 ปีแล้ว เพราะชอบที่อากาศดี ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และผู้คนเป็นมิตร นอกจากเป็นเสมือนผู้ใหญ่บ้าน เขายังเป็นนักเขียน มีผลงานตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นและเล่นเครื่องดนตรีญี่ปุ่นโบราณได้หลายชนิด บ้านของเขาสร้างด้วยไม้ไผ่ เป็นเรือนเครื่องผูก ใต้ถุนบ้านจัดเป็นมุมนั่งพักหลบแดด มีวิวภูเขาให้มองไปได้กว้างไกล ทางขึ้นบ้านมีธงญี่ปุ่นปักไขว้กันและบนบ้านมีพรับรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประดับไว้บนผนัง ครัวและห้องน้ำปลูกแยกออกไปจากเรือนแต่เดินถึงกันได้สะดวก อากาศในตอนเช้าจะหนาว

jun130124-229

jun130124-138

บ้านหลังหนึ่งในหมู่บ้านสร้างขึ้นจากดิน เป็นบ้านของคุณเคมซัง ผู้เป็นทั้งศิลปินเขียนภาพ เขียนหนังสือและเล่นดนตรี เขาใช้ชีวิตห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนมาตลอดตั้งแต่วัยหนุ่ม ประเทศไทยถือเป็นช่วงชีวิตที่อยู่นานที่สุดแล้ว บ้านดินของเคมซังน่าอยู่มาก เขาบอกว่า อยากสร้างบ้านที่เป็นเหมือนเต็นท์แต่ถาวรกว่า เคมซังเรียกบ้านของเขาว่า “เต็นท์สไตล์” นั่นือสามารถเข้า-ออกได้สะดวกใกล้ชิดกับธรรมชาติ เขาสร้างบ้านโดยทำเป็นโครงระแนงไม้ไผ่ แล้วฉาบด้วยดินในพื้นที่ ผสมกับฟางข้าว มูลวัวและมูลช้าง พื้นผิวดินของบ้านเคมซังนั้นเนียนจนน่าทึ่งราวกับปูขัดมันแต่ไม่แข็งกระด้าง ส่วนประตูและหน้าต่างทำด้วยไม้ไผ่ แล้วขึงกระดาษสาแบบบ้านชาวญี่ปุ่นโบาณ เมื่อเข้าสู่ภายในจะมีพื้นที่โล่งๆใช้งานอเนกประสงค์ ทั้งรับรองแขก ทำงานและเป็นแกลเลอรี่ ใกล้กันมีครัว เตาที่ใช้นั้นก่อด้วยดินเช่นกัน ใช้งานได้ดี สวยงามน่ามองและไม่ต้องเสียสตางค์ซื้อ

jun130124-280 jun130124-074 jun130124-162 jun130124-071 jun130124-146

บ้านสร้างด้วยไม้ไผ่ของครอบครัวคุณอาสุกะ-อีกครอบครัวในมูนวิลเลจ เป็นบ้านยกพื้นสูง ใต้ถุนใช้เ็นครัว เธอกำลังปรุงอาหารสำำหรับปาร์ตี้คืนนี้ด้วยผักที่ปลูกเอง

jun130124-205

jun130124-194

บ้านสไตล์หอเอนของคุณเจี๊ยบ-อนิรุทธ ศรีรุ่งเรือง หนึ่งในสมาชิกและเจ้าของที่ดินมูนวิลเลจ

jun130124-238

jun130124-241

ที่มูนวิลเลจ พวกเขาอยู่กันอย่างไม่โดดเดี่ยวและให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่ม มีอาคารไม้ทรงหกเหลี่ยมเป็นศูนย์กลาง ใช้ในกิจกรรมต่างๆและรับรองแขกที่เดินทาไกลมาเยี่ยมเยือน เด็กๆที่นี่อยู่กับต้นไม้ใบหญ้า เล่นดินเล่นทรายสนุกสนานและีอิสระตามธรรมชาติของวัย ภาพชีวิตที่นี่ช่างเรียบง่ายทว่างดงาม เคมซังเคยพูดไว้ว่า “ที่นี่ผมมองไม่เห็นความเจ็บปวดในดวงตาของผม ไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวด ตาผมมันบอกว่าที่นี่มีแต่ความสุข ผมจึงเลือกที่จะอยู่ที่นี่”

jun130124-214

r0025759

jun130124-109

 

jun130124-120

jun130124-272

2b8f621e9244cea5007bac8f5d50e476

หนังสือ : บ้าน บ้าน ฉบับที่ 4

เขียน : ภัทรสิริ อภิชิต

เรียบเรียง : ภาสกร เจยาคม

ภาพ : อภิรักษ์ สุขสัย, ปรัชญา จันทร์คง, ธนกิตติ์ คำอ่อน, นันทิยา บุษบงค์

สั่งซื้อหนังสือได้ที่นี่