ปรับปรุง “ทาวน์เฮ้าส์” เตรียมพร้อมสำหรับครอบครัวขยายในอนาคต 

  บ้านทาวน์เฮ้าส์หลังนี้เป็นของ ดร.จตุวัฒน์ วโรดมพันธ์ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งตั้งใจปรับปรุงบ้านเดิมให้เป็นบ้านที่น่าอยู่และเตรียมพร้อมสำหรับครอบครัวขยายในอนาคต

 

“ผมเลือกซื้อทาวน์เฮ้าส์ติดกับบ้านของพ่อ และแม่ เพื่อความสะดวกในการดูแลท่านเมื่อยามแก่ชรา เมื่อซื้อมาก็ต่อเติมและปรับปรุงภายในทั้งหมด ตอนนี้อยู่กับภรรยา ยังไม่มีลูก แต่คิดว่าคงอีกไม่นานนี้ เลยทำห้องนอนเผื่อลูกๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว

Think-for-baan-2-792x1024

 

“บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 22 เดินทางด้วยรถไฟฟ้าได้สบายๆ หรือจะเดินทางจากบ้านไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รถก็ไม่ติดมากนักเพราะเดินทางย้อนศรกับคนส่วนใหญ่ที่ตอนเช้าจะเข้าเมืองและ เย็นออกจากเมือง เรากลับกันกับเขาหมด” อาจารย์จตุวัฒน์เล่าด้วยรอยยิ้มที่มุมปาก ขณะพาผมเดินชมส่วนต่างๆ ของบ้าน

 

Think-for-baan-5-792x1024

“เดิมบ้านนี้เป็นบ้านสามชั้นพร้อมดาด ฟ้า ผมจึงต่อเติมพื้นที่ดาดฟ้าให้กลายเป็นห้องพักผ่อนออกแบบให้เป็นประตูบาน เลื่อนกระจกสูง มองออกไปเห็นทิวทัศน์ของเมืองได้ และห้องนี้ยังเป็นเหมือนฉนวนกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ห้องนอนที่อยู่ชั้น ล่างได้ด้วย”

 

อาจารย์จตุวัฒน์ มีความ เชื่อว่า การออกแบบช่วยให้โลกดีขึ้นได้ ซึ่งนำไปสู่การเรียนและเป็นอาจารย์สอนเกี่ยวกับด้านพลังงาน รวมถึงการออกแบบสถา – ปัตยกรรมสีเขียวที่ช่วยให้บ้านและโลกเย็นขึ้น เมื่อมาออกแบบบ้านของตัวเองเขาจึงไม่ลืมใส่รายละเอียดเรื่องการประหยัด พลังงานและทรัพยากรลงไปด้วยไม่ว่าจะเป็นการทำระบบเก็บกักน้ำฝนไว้ใช้รดน้ำ ต้นไม้และสำรองไว้ใช้ยามน้ำประปาไม่ไหล การออกแบบช่องลมแนวตั้งที่โถงบันไดเพื่อถ่ายเทอากาศร้อนให้ลอยขึ้นสูงและออก นอกตัวบ้านไป หรือการนำน้ำจากเครื่องปรับอากาศมารดน้ำต้นไม้ แทนที่จะปล่อยให้หยดทิ้งเหมือนบ้านทั่วไป

Think-for-baan-3

    “ผมเชื่อว่า บ้านที่ดีไม่ใช่แค่สวยอย่างเดียว แต่การใช้งานต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด อย่างหน้าบ้านที่จอดรถได้ 2 คัน ผมยอมสละให้จอดรถได้คันเดียว ส่วนพื้นที่ที่เหลือเป็นสวนและต้นไม้ ผมคงอึดอัดถ้าต้องอยู่ในบ้านที่มองออกไปเห็นแต่ที่จอดรถ แม้สวนของเราจะมีขนาดเล็ก แต่ก็ช่วยให้บ้านเย็นขึ้นได้
Think-for-baan-10-792x1024
“ส่วนภายในบ้าน ผมยอมเสียพื้นที่ภายในบางส่วนเพื่อขยายโถงบันไดให้ใหญ่ขึ้นกว่าของเดิม ทำให้ได้โถงโล่งรับแสงธรรมชาติที่ส่องผ่านหลังคาโปร่งด้านบน และยังเป็นช่องทางให้ลมร้อนลอยขึ้นไปและออกไปสู่ภายนอกได้ด้วยการออกแบบภาย ใน ผมใช้ผนังเบาทั้งหมด เพราะนอกจากการก่อสร้างที่รวดเร็วแล้ว ผนังเบายังมีมวลน้อยกว่าผนังก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป ฉะนั้นความร้อนที่สะสมก็จะน้อยตามไปด้วย แนวคิดอีกอย่างหนึ่งคือ
Think-for-baan-7-792x1024
การออกแบบให้บ้านทาวน์เฮ้าส์หลุดออกจากกรอบเดิมๆ เมื่อเดินเข้ามาจะรู้สึกเหมือนเป็นบ้านเดี่ยวที่มีการเปิดรับแสงและลมได้ มากกว่า เพราะด้านข้างนั้นไม่สามารถเจาะช่องแสงได้ เราจึงเจาะช่องหน้าต่างในตำแหน่งหน้าและหลังมากที่สุด”