บ้านโครงสร้างเหล็ก ที่ยกใต้ถุนสูงเป็นบ้านริมคลองแบบสมัยใหม่

บ้านโครงสร้างเหล็ก ยกใต้ถุนสูงที่นำองค์ประกอบจากบ้านไม้หลังเดิมเข้ามาผสมผสานกับปูนเปลือยได้อย่างลงตัว

canal-house บ้านริมคลอง บ้านโครงหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก
ลดทอนความใหญ่ของหลังคาด้วยเส้นสายของช่วงเสาที่สูง จากพื้นจรดฝ้าไม้ซึ่งเป็นไม้เก่าจากบ้านเดิม เสาสูงโดยรอบยังช่วยให้ตัวบ้านดูโปร่งรับกับความเป็น บ้านโครงเหล็ก ที่ยกใต้ถุนให้สูงโดยมีบันไดคือหน้าบ้านที่รับลมจากคลองบางเชือกหนัง

ภาพบ้านเดิมก่อนรื้อและสร้างบ้านริมคลองหลังใหม่

วิถีชีวิตริมคลองนับเป็นเอกลักษณ์ความเป็นอยู่อย่างชาวภาคกลาง ที่กำลังค่อยๆ เลือนหายไปเพราะมีถนนเข้ามาแทนที่ แต่บ้านริมคลอง บางเชือกหนังหลังนี้กลับเชื่อมโยงบรรยากาศแบบบ้านริมคลองยุคเก่าเข้ากับงานออกแบบสมัยใหม่ ภายใต้รูปลักษณ์ของ บ้านโครงสร้างเหล็ก

“ตอนปี 2554 ที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ บ้านเดิมของคุณปุ้ม (คุณผกามาศ ไทยกิ่ง) ซึ่งเป็นบ้านไม้มีสภาพทรุดโทรม เธอมีโครงการจะสร้างบ้านหลังใหม่ โดยเริ่มจากมองหาแบบบ้านสำเร็จรูปตามบริษัทรับสร้างบ้าน แต่ยังไม่ถูกใจ จนสุดท้ายคุณปุ้มได้ติดต่อมาทางเรา จึงได้เริ่มออกแบบบ้านหลังนี้กัน” คุณยู – พิเศษ อิศรางกูร ณ อยุธยา และคุณฤทธิ์ – อิทธิฤทธิ์ หทัยรัตนา สองสถาปนิก เล่าถึงที่มาของ บ้านโครงเหล็ก ริมคลองหลังนี้ให้ฟัง ก่อนขยายความต่อว่า

“โจทย์ที่คุณปุ้มให้เราก็คือ ต้องการบ้านยกพื้นใต้ถุนสูง มี 3 ห้องนอน และเก็บไม้จากบ้านเดิมมาใช้ด้วย และบ้านหลังนี้ต้องไม่ใช้เครื่องปรับอากาศ เราจึงนำแนวคิดของบ้านไทยที่ใช้บริบทของธรรมชาติ การเปิดช่องลม และการหันทิศทางที่เหมาะสมเป็นหลักในการออกแบบ”

ด้านหน้าบ้านนี้หันออกสู่คลอง เช่นเดียวกับบ้านหลังเดิมและบ้านในยุคสมัยเดียวกันทั้งหลาย เพราะคลองคือทางสัญจรหลักในช่วงก่อนที่ถนนจะตัดผ่านเข้ามายังบางเชือกหนัง นอกจากบรรยากาศร่มรื่นที่ได้รับอย่างเต็มที่แล้ว สิ่งที่ตามมาคือลมเย็นๆที่พัดเข้าหาตัวบ้านตลอดทั้งวัน

canal-house บ้านริมคลอง บ้านโครงเหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก
ใต้ถุนบ้านโปร่งกั้นพื้นที่ด้วยเสากลมและผนังบล็อกช่องลมที่มองทะลุได้ง่าย ทั้งยังไม่บังลมอีกด้วย
canal-house บ้านริมคลอง บ้านโครงสร้างเหล็ก
บริเวณใต้ถุนบ้านนำเฟอร์นิเจอร์ไม้จากบ้านเดิมมาจัดเป็นมุมนั่งเล่นและรับประทานอาหารไปพร้อมกัน
บ้านโครงสร้างเหล็ก
ตั่งนั่งเล่นจากบ้านเดิมก็นำมาตั้งบริเวณใต้ถุนบ้านเช่นกัน เพื่อรับลมเย็นสบายจากคลอง และให้บรรยากาศแบบไทยๆ ได้ดี

คุณยูเล่าต่อไปอีกว่า “บางคนจะคิดว่าเราพยายามออกแบบบ้านหลังนี้ตามอย่างบ้านทรงไทยอย่างบ้านหลังเดิมที่รื้อออกไป แต่เปล่าเลย เราพยายามออกแบบบ้านให้สามารถใช้ประโยชน์จากลมเย็นๆที่พัดเข้าบ้านตลอดเวลา จึงมีช่องเปิดขนาดใหญ่จากฝั่งที่ติดคลอง เช่น ประตูเลื่อนตรงชานรับแขก และหน้าต่างห้องนอนใหญ่ของคุณปุ้มเอง และจะมีระแนงไม้ทั้งด้านบนผนังและบนฝ้าเพดานเพื่อเป็นทางให้ลมไหลออกได้ ภายในบ้านหลังนี้จึงมีลมเอื่อยๆพัดผ่านตลอดเวลา”

canal-house บ้านริมคลอง บ้านโครงเหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก
บันไดที่ออกแบบให้ยกลอยดูเบาตา ไม่บดบังทั้งทัศนียภาพและลมที่พัดผ่าน เมื่อขึ้นไปชั้นบนจะพบชานนั่งเล่นและโถงต้อนรับซึ่งเชื่อมกับห้องพระและห้องอื่นๆ
canal-house บ้านริมคลอง บ้านโครงเหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก
การเลือกใช้โครงสร้างเหล็ก H-Beam ทำให้สามารถสร้างชานขนาดใหญ่ได้โดยไม่ต้องมีเสารองรับ ถือเป็นการใช้วัสดุสมัยใหม่ที่สร้างความรู้สึกแบบไทยได้ดี จากภาพจะเห็นว่าเมื่อไม่ต้องมีเสารองรับ ชานชั้นบนบริเวณใต้ถุนก็มีความโปร่ง มองทะลุไปได้จนสุดพื้นที่

นอกจากการออกแบบที่เอื้อต่อบริบทของบ้านริมคลอแล้ว โจทย์อีกอย่างหนึ่งของบ้านหลังนี้ก็คือการนำองค์ประกอบจากบ้านเดิมมาใช้ ในหลายส่วนของบ้านจึงยังรู้สึกได้ถึงกลิ่นอายของบ้านไม้หลังเดิม ตั้งแต่พื้นไม้หน้ากว้างเป็นพิเศษในส่วนชานนั่งเล่น บานหน้าต่างที่นำกลับมาใช้ใหม่ให้ความรู้สึกร่วมสมัยตัดกับผนังปูนเปลือยเรียบๆ  รวมทั้งบานหน้าต่างที่เหลือก็นำไปใช้เป็นบานตู้ภายในบ้าน

ไม้เก่าสีเข้มจึงแสดงตัวอยู่บนผนังปูนเปลือยสีเทาของบ้านหลังนี้อย่างโดดเด่นแต่อบอุ่นไปพร้อมกัน เมื่อสังเกตส่วนอื่นๆในบ้านสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้องค์ประกอบต่างๆจากบ้านหลังเก่าดูโดดเด่นขึ้นมา ก็คือการเลือกใช้วัสดุเรียบง่ายสีพื้นอย่างปูนเปลือย ผนังสีเทา โครงเหล็ก H-Beam ที่มีเส้นสายเฉียบคม และบล็อกช่องลมรูปสี่เหลี่ยม ทั้งภายนอกและภายในของบ้านหลังนี้ โดยออกแบบไว้อย่างพอดิบพอดี เป็นจังหวะเก่าและใหม่ที่สลับจัดวางองค์ประกอบได้อย่างลงตัว

canal-house บ้านริมคลอง ห้องครัว
ครัวที่ตั้งอยู่ส่วนท้ายของบ้านติดระแนงไม้เพื่อปล่อยให้ลมพัดผ่านได้สะดวก ช่วยให้กลิ่นฉุนขณะทำอาหารไม่เข้าไปรบกวนภายในบ้าน และยังให้บรรยากาศเหมือนครัวไทยสมัยก่อนด้วย
canal-house บ้านริมคลอง บ้านโครงสร้างเหล็ก
ห้องนอนตกแต่งอย่างเรียบง่าย รับแสงธรรมชาติ ผ่านบานกระจกของกรอบหน้าต่างไม้จากบ้านเดิม
canal-house บ้านริมคลอง บ้านโครงเหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก
ช่องแสงเหนือห้องน้ำเป็นรายละเอียดการตกแต่งที่ช่วยทั้งระบายอากาศและสร้างความต่อเนื่องให้ภาพรวมของบ้านได้กลิ่นอายแบบไทยๆ

นอกจากการเก็บไม้เก่ามาผสมผสานในบ้านแล้ว เฟอร์นิเจอร์จากบ้านเดิมก็เป็นสิ่งที่นำมาใช้กับการตกแต่งบ้านหลังนี้ ส่วนใหญ่ใช้ไม้สีเข้มอันเป็นเอกลักษณ์ของบ้านไทย ด้วยความที่คุณปุ้มชอบบ้านที่สะอาดสะอ้าน เราจึงยากที่จะเห็นการตกแต่งที่มากกว่าความจำเป็นในการใช้ชีวิต แต่จะเป็นไรไป เมื่อสายลมและแสงแดดที่เข้ามาผ่านช่องแสงและระแนงก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้บ้านหลังนี้มีเสน่ห์เหลือเกิน

canal-house บ้านโครงเหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก
เว้นระยะระหว่างแนวเสาสูงกับตัวบ้าน เป็นแนวทางเดินที่ทำให้พื้นที่ของบ้าน ดูโปร่งสบายตายิ่งขึ้น
canal-house
ชานนั่งเล่นสำหรับชมวิวเรือกสวนที่ยังพอหาได้ในแถบชานเมืองกรุงเทพฯ
canal-house บ้านโครงสร้างเหล็ก
บานหน้าต่างเก่าจากบ้านเดิมและผนังไม้เติมเต็มความอบอุ่นให้พื้นที่ได้ดี ตัดสลับกับความเฉียบคมของปูนเปลือยและโครงเหล็ก H-Beam
canal-house บ้านโครงเหล็ก บ้านโครงสร้างเหล็ก
การตัดสลับระหว่างพื้นปูนขัด พื้นหินกรวดและพื้นหญ้า เป็นการบ่งบอกพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องมีกำแพงหรือขอบกั้นใดๆ ทั้งยังให้ความต่อเนื่องสบายตาอีกด้วย
canal-house
บานเฟี้ยมเดิมที่นำมาแยกออกจากกันเพื่อใช้เป็นบานตู้ อีกหนึ่งวิธีเก็บไม้จากบ้านเก่ามาใช้ใหม่ ช่วยเติมเต็มเรื่องราวให้บ้านได้เป็นอย่างดี
canal-house
การใช้ ระแนงสำหรับบ้านที่ต้องการรับลมตามธรรมชาตินั้นถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากเพราะจะให้ลมเข้าก็ต้องมีทางออกให้ลมด้วย นอกจากนี้ยังสามารถออกแบบให้ระแนงเหล่านั้นเป็นจุดให้แสงธรรมชาติแก่พื้นที่ในบ้านได้อีกด้วย

เจ้าของ : คุณผกามาศ ไทยกิ่ง
ออกแบบ : คุณพิเศษ อิศรางกูร ณ อยุธยา และคุณอิทธิฤทธิ์ หทัยรัตนา

เรื่อง:  วุฒิกร สุทธิอาภา

ภาพ : ศุภกร ศรีสกุล

บ้านโครงสร้างเหล็กยกใต้ถุนที่ใช้สัดส่วนแบบไทยเดิม

บ้านโมเดิร์นโครงเหล็กผสมคอนกรี