รวม 7 แบบบ้านที่มี “อิฐช่องลม” สวย

บ้าน3ชั้น ที่เปิดรับธรรมชาติให้มีส่วนร่วมกับวิถีชีวิต

ธรรมชาติของโลกคือการอยู่ร่วมกันของทุกสิ่ง ต่างดำเนินไปตามปัจเจกวิถี แต่เมื่อพื้นที่ เวลา คน และสิ่งของมีหลายจำนวน ย่อมเกิดความสัมพันธ์ระหว่างกัน ทั้งคนกับคน คนกับพื้นที่ พื้นที่กับธรรมชาติ บ้านกับชุมชน “ระหว่าง” จึงอาจเป็นแค่การผ่านเลยหรืออาจถักทอสายสัมพันธ์อย่างมากมาย บ้าน3ชั้น ยิ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนยิ่งซับซ้อน แต่ในความซับซ้อนที่ไม่อาจสร้างสมการให้มีคำตอบตายตัวได้ กลับเป็นสิ่งน่าสนใจสำหรับ อาจารย์หน่อง – ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งยังเป็นสถาปนิกชุมชนและบรรณาธิการวารสารอาษาของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยออกแบบบ้านสำหรับครอบครัวขยายที่มีคน 3 วัย ขนาด 800 ตารางเมตรให้มีพื้นที่ “ระหว่าง” ที่มีความยืดหยุ่นทั้งการใช้งาน การสร้างปฏิสัมพันธ์ และการเปิดรับธรรมชาติให้มีส่วนร่วมกับวิถีชีวิตได้แบบหลวมๆ อ่านต่อ…


บ้านโมเดิร์น ผสานพื้นที่ในและนอกบ้านได้อย่างลงตัว

โจทย์ของการออกแบบ บ้านโมเดิร์นคลาสสิก หลังนี้เริ่มต้นจากครอบครัวของ คุณตา-ภาวินี จุลเกษม ต้องการขยับขยายบ้านเดิมที่อาศัยอยู่ในย่านประชาชื่น โดยได้ซื้อบ้านซึ่งมีที่ดินติดกันมาเก็บไว้นานแล้ว และพูดคุยกับคุณสมชาย จงแสง แห่ง Deca Atelier ที่รู้จักคุ้นเคยกันมานานหลายสิบปี ให้เข้ามาเป็นผู้ออกแบบบ้านหลังใหม่ สมาชิกในครอบครัวประกอบด้วยคุณตา สามี พร้อมลูกชายและลูกสาวซึ่งมีความชอบและความต้องการพื้นที่ในการใช้งานต่างกัน คุณตาชอบบ้านสไตล์โมเดิร์น มีกระจกเยอะๆ ด้านสามีชอบบ้านสไตล์คลาสสิก มีเฟอร์นิเจอร์ชุดเก่าและของสะสมมากมาย เจ้าของบ้านทั้งคู่ชอบจัดงานสังสรรค์กินข้าวในหมู่เพื่อนฝูงอยู่เป็นประจำ ส่วนลูกชายแต่งงานมีครอบครัวแล้ว ขณะที่ลูกสาวก็มีสไตล์ที่ชอบเป็นของตัวเอง การออกแบบจึงเริ่มต้นจากการใช้สอยเป็นหลักบนพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด คุณสมชายจึงสร้างอาคารค่อนข้างเต็มพื้นที่ และแบ่งส่วนต่างๆ ออกเป็นก้อนๆ จากนั้นจึงเชื่อมทั้งหมดด้วยพื้นที่ใช้สอยร่วมกันอย่างลานปาร์ตี้รอบสระว่ายน้ำ ห้องนั่งเล่นใหญ่ โถงบันได และลานศาลาบนชั้นสอง อ่านต่อ…


JAIBAAN STUDIO หัวใจของคราฟต์คือ “ชุมชน”

ใจบ้านสตูดิโอ ชื่อนี้อาจฟังดูใหม่สำหรับใครหลายคน แต่สำหรับแวดวงสถาปัตยกรรมเพื่อชุมชน ชื่อนี้เป็นที่รู้จักมากว่า 6 ปี ตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็น “กลุ่มคนใจบ้าน”  ศุภวุฒิ บุญมหาธนากร, ทนวินท วิจิตรพร และ แพรวพร สุขัษเฐียร คือ 3 สถาปนิกผู้บุกเบิกสตูดิโอออกแบบ ซึ่งหมายมุ่งไปบนเส้นทางงานออกแบบเพื่อผู้คน สิ่งแวดล้อม และธรรมชาติ ภายใต้บริบทของภาคเหนือมาตลอด มาถึงวันนี้ เมื่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของสิ่งแวดล้อมเริ่มแพร่หลายในวงกว้าง จึงได้เวลาที่สตูดิโอใจบ้านจะเริ่มขยายขอบเขตการออกแบบ นอกเหนือไปจากสถาปัตยกรรมเชิงอนุรักษ์ไปสู่การออกแบบองค์รวมที่ครอบคลุมทั้งตัวอาคาร ภูมิทัศน์ ไปจนถึงเกษตรกรรมนิเวศของชุมชนนั้น ๆ ด้วย และนี่เองคือเหตุผลที่ทำให้สตูดิโอใจบ้านได้มีโอกาสสัมผัสคลุกคลีกับวิถีชีวิตในชุมชนอย่างใกล้ชิด การพยายามเรียนรู้ แลกเปลี่ยนภูมิปัญญากับช่างฝีมือท้องถิ่น นำไปสู่ผลลัพธ์ซึ่งแน่นอนว่าแตกต่างจากงานช่างในอุตสาหกรรมก่อสร้างทั่วไป เห็นได้จากผลงานสถาปัตยกรรมที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณแห่งท้องถิ่นต้นกำเนิด และกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างสถาปนิกกับชาวบ้านในชุมชน อ่านต่อ…


 

บ้านชั้นเดียวบนพื้นฐานความเรียบง่าย

ครั้งแรกที่เห็นหน้าตาของ บ้านชั้นเดียว หลังนี้ก็รู้สึกเลยว่าไม่ธรรมดา ทั้งการออกแบบและสถานที่ตั้ง เพราะอยู่กลางทุ่งแห่งหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง แต่ที่ไม่ธรรมดาที่สุดต้องยกให้เจ้าของบ้านซึ่งเป็นชายวัย 73 ปี ผู้ลงทุนควักกระเป๋าตัวเองมาสร้างบ้านหลังย่อมๆ จนกลายเป็นที่สนใจของชุมชนชนิดหัวบันไดไม่แห้งกันเลยทีเดียว  “หลายคนคิดว่าอายุขนาดผมทำไมถึงมาสร้างบ้าน แต่ผมมองอีกอย่างนะว่าอายุเท่านี้ยิ่งต้องสร้างบ้าน เพราะยังมีแรงไปไหนมาไหนได้ ผมไม่อยากเป็นภาระหรือสร้างความหนักใจให้ลูกในอนาคต  ผมก็เลยต้องสร้างบ้านให้ตัวเองอยู่ได้ดีในยามแก่ที่อาจช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง แทนที่จะไปอยู่ในห้องแคบๆ ให้ลูกมาคอยดูแล ก็เลยต้องมีการวางแผนกันไว้ล่วงหน้า ซึ่งสุดท้ายแล้วต่อไปบ้านนี้ก็จะเป็นของลูกเราอยู่ดี”  อ่านต่อ…


สภาวะสบายใน ทาวน์โฮม ขนาดเล็ก

เป็นเรื่องปกติที่เราจะพบเห็นบ้านแบบ ทาวน์โฮม อยู่ทั่วไปตามเมืองใหญ่ของประเทศเวียดนาม เพราะมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่สำหรับสร้างที่อยู่อาศัย จนกลายเป็นจุดเด่นของบ้านสไตล์เวียดนามไปแล้ว ซึ่งบ้านของ Mr. Thanh Giác ในเมืองดานังหลังนี้ นอกจากภายนอกจะดูแตกต่างและมีเสน่ห์เฉพาะตัวแล้ว ภายในยังซ่อนการออกแบบที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพื่อตอบสนองการใช้งานควบคู่ไปกับการสร้าง สภาวะสบาย ให้แก่ผู้อยู่อาศัย อ่านต่อ…


สัมผัสชีวิตริมคลองที่…บ้านบางเชือกหนัง

วิถีชีวิตริมคลองนับเป็นเอกลักษณ์ความเป็นอยู่อย่างชาวภาคกลางที่กำลังค่อยๆ เลือนหายไปเพราะมีถนนเข้ามาแทนที่แต่บ้านริมคลองบางเชือกหนังหลังนี้กลับเชื่อมโยงบรรยากาศแบบบ้านริมคลองยุคเก่าเข้ากับงานออกแบบสมัยใหม่ ภายใต้รูปลักษณ์ของบ้านโครงสร้างเหล็กยกใต้ถุนสูงที่นำองค์ประกอบจากบ้านไม้หลังเดิมเข้ามาผสมผสานกับปูนเปลือยได้อย่างลงตัว

“ตอนปี 2554 ที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ บ้านเดิมของ คุณปุ้ม (คุณผกามาศ ไทยกิ่ง) ซึ่งเป็นบ้านไม้มีสภาพทรุดโทรมเธอมีโครงการจะสร้างบ้านหลังใหม่ โดยเริ่มจากมองหาแบบบ้านสำเร็จรูปตามบริษัทรับสร้างบ้าน แต่ยังไม่ถูกใจ จนสุดท้ายคุณปุ้มได้ติดต่อมาทางเรา จึงได้เริ่มออกแบบบ้านหลังนี้กัน” อ่านต่อ…


บ้านอิฐ เรียบๆแต่ลงตัว

บ้านอิฐ ทรงสี่เหลี่ยมหลังนี้ตั้งอยู่ในนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ทำให้เราสัมผัสได้ทั้งความงามจากการเปิดรับแสงธรรมชาติและความเย็นสบายจากสายลมที่พัดมาตลอดเวลา เจ้าของบ้านคือ Mr. Tung Do และ Mrs.Lien Dinh คู่แต่งงานใหม่ที่อยากได้บ้านหลังเล็ก มีพื้นที่ใช้งานที่เรียบง่ายและสอดประสานกันอย่างลงตัว ทั้งสองได้เห็น Termitary House ผลงานการออกแบบของบริษัท Tropical Space ซึ่งได้รับรางวัล Brick Award 2016 (และอีกหลายรางวัล) ด้วยความสนใจและชื่นชมในวิธีคิด รูปแบบ ตลอดจนรูปลักษณ์ของตัวบ้าน จึงตัดสินใจให้บริษัทนี้มาออกแบบและสร้างบ้านภายใต้งบประมาณที่จำกัด อ่านต่อ…

เรียบเรียง : Tatsareeya S.
คลังภาพบ้านและสวน


 

เมื่อช่องลมเปลี่ยนไป ไม่ใช่แค่ระบายอากาศ

ช่องลม สวย แถมยังช่วยผนังหายใจ โล่ง