CHUONCHUON KIM 2 KINDERGARTEN โรงเรียนอนุบาลพร้อมการเรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน

หากเล่าเรื่องการวางแผนผังฟังก์ชันของแต่ละพื้นที่แล้วน่าจะต้องเล่าจากรูปแบบกิจกรรม และความเป็นส่วนตัวของพื้นที่ก่อน เพราะกลุ่มแมสของอาคารแต่ละส่วนต่างก็มีเรื่องราวเป็นของตัวเอง และมีธรรมชาติการจัดการพื้นที่ที่แตกต่างกันไป เริ่มจากพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวที่สุดอย่างห้องเรียนที่ต้องเงียบสงบเพื่อสร้างสมาธิ จึงต้องแยกส่วนออกจากพื้นที่นันทนาการหรือคอร์ตยาร์ดที่เต็มไปด้วยสีสันความสนุกสนาน โดยพื้นที่ส่วนกลางนี้จำเป็นต้องออกแบบช่องเปิดให้สามารถมองเห็นทุกกิจกรรมการเคลื่อนไหวของเด็ก ๆ ได้ชัดเจน ด้วยการเปิดมุมมองจากด้านนอกเข้าสู่ด้านใน และจากด้านในออกสู่ด้านนอก เพื่อเฝ้าระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้จากทุกมุม

อาคารอิฐ โรงเรียนอนุบาล

อาคารอิฐ โรงเรียนอนุบาล

อาคารอิฐ โรงเรียนอนุบาล

นอกจากพื้นที่อาคารด้านล่างแล้ว บนดาดฟ้ายังมีสวนอีกแห่งหนึ่งซึ่งมองเห็นไปถึงแม่น้ำไซง่อน เด็ก ๆ สามารถใช้ทางสัญจรจากด้านล่าง หรือเชื่อมโยงจากห้องเรียนต่าง ๆ เพื่อขึ้นไปสู่ตัวอาคารด้านบนสุด ซึ่งตลอดเส้นทางจะมีการสร้างประสบการณ์ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ ผ่านการตกแต่งด้วยสีสัน และการจัดสรรพื้นที่ชวนเซอร์ไพร้ส์ที่ถูกใจเด็ก ๆ เช่น โถงบันไดเวียนกับเส้นนำสายตาแนวตั้งเพื่อโยงขึ้นไปถึงชั้นดาดฟ้า บันไดเวียนอีกฝั่งที่มองข้างนอกดูเหมือนกับสไลเดอร์แบบเอ๊าต์ดอร์ ช่องเปิดที่มีรูปร่างล้อไปกับรูปทรงของอาคาร ระเบียงสีเหลืองสด รวมทั้งสเต็ปบันไดขั้นเล็ก ๆ ที่เป็นเหมือนกับสนามเด็กเล่นขนาดย่อมในอาคาร

อาคารอิฐ โรงเรียนอนุบาล

อาคารอิฐ โรงเรียนอนุบาล บันไดวน

อาคารอิฐ โรงเรียนอนุบาล

สำหรับการออกแบบโรงเรียนเรื่องสำคัญอีกส่วนหนึ่งคือความปลอดภัยของเด็ก ๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ห้องเรียนทำผนังสองชั้น ชั้นนอกก่ออิฐแบบโปร่งตามโครงสร้างอาคารด้านนอก ส่วนช่องเปิดติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย พื้นที่เปิดทั้งสองส่วนช่วยให้แสงสว่างส่องเข้ามาถึงภายในอาคารได้อย่างทั่วถึง เพียงพอกับการใช้งานในเวลากลางวัน ถัดไปคือระเบียงเล็ก ๆ ก่อนจะถึงประตูกระจกบานเลื่อนเต็มแผ่นทช่วยสร้างขอบเขตให้แก่ห้องเรียน  หรือราวบันไดทุกส่วนของอาคารที่เลือกใช้ซี่บันไดแบบแนวตั้ง เพื่อให้เด็ก ๆ ที่มีความสูงแตกต่างกันสามารถจับราวอย่างปลอดภัยได้ทุกคน

อาคารอิฐ โรงเรียนอนุบาล อาคารอิฐ โรงเรียนอนุบาล ห้องเรียน

ความชาญฉลาดของการออกแบบงานสถาปัตยกรรมชิ้นนี้ คือการจำลองสถานการณ์ให้เด็ก ๆ ได้สนุก และเปิดประสบการณ์ใหม่ ๆ ผ่านงานดีไซน์ที่สอดแทรกอยู่ในทุกมุมมองการมองเห็นและสัมผัส เพื่อให้เด็ก ๆ เกิดพัฒนาการโดยไม่รู้ตัว ซึ่งการใช้สถานที่เป็นตัวกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กนั้นนับเป็นการสร้างโจทย์แบบปลายเปิดอีกอย่างหนึ่ง เพราะเด็กแต่ละคนต่างก็มีแนวทางในการค้นหา และวิธีแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน อาคารแห่งนี้จึงไม่เพียงแต่มีความสนุกสำหรับเด็กเท่านั้น ผู้ใหญ่เองก็สามารถรับรู้ได้ถึงความเซอร์ไพร้ส์ที่ทำให้เหมือนได้กลับไปเป็นเด็กอีกครั้งตลอดเวลาที่อยู่ภายในอาคาร

อาคารอิฐ โรงเรียนอนุบาล

อาคารอิฐ โรงเรียนอนุบาล

อาคารอิฐ โรงเรียนอนุบาล

 

ออกแบบ : KIENTRUC O


เรื่อง : skiixy

ภาพ  : Hiroyuki Oki

อ่านต่อ 10 บ้านโชว์ผนังอิฐเปลือย ดีไซน์หล่อเท่ ทุกตารางเมตร