แบบประตูบานเลื่อน

FUSUMA ประตูกั้นห้อง หัวใจและวัฒนธรรมนอก-ในของชาวญี่ปุ่น

แบบประตูบานเลื่อน
แบบประตูบานเลื่อน

เวลาไปเดินชมงานสถาปัตยกรรม หรือภูมิทัศน์ เช่น สวนญี่ปุ่น แทนที่จะเดินไปข้างหน้าตามเส้นทางที่กำหนดไว้เพียงอย่างเดียว ฉันมักจะหยุด แล้วเหลียวกลับไปมองข้างหลังบ้างเป็นบางครั้ง คุณเองก็ลองทำดูสิ แล้วบอกด้วยว่าคุณเห็นภาพอีกภาพที่สวยงาม และแตกต่างออกไปเหมือนกับที่ฉันเห็นหรือเปล่า

สวนญี่ปุ่น
(ภาพจาก K. Umezu http://www.woodyplanning.com)

สมัยเป็นเด็ก อาจารย์ที่คณะสถาปัตย์ฯท่านหนึ่งเคยเล่าว่า งานสถาปัตยกรรมและสวนญี่ปุ่นนั้น ถูกคิดมาอย่างเยอะ เพื่อให้ไม่ว่าจะมองจากมุมไหนก็ดูลงตัวไปหมด คำกล่าวนี้เป็นจริงสำหรับฉัน ทุกครั้งที่หันกลับไปมอง ฉันเห็นความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ ทั้งโครงสร้าง ทางเดิน ประตู หน้าต่าง วัสดุ แสง ผ่านที่ว่างในอาคาร ที่เกิดจากการเลือกที่จะเปิดรับ และปิดกั้นผ่านการใช้ฟุสุมะ

ในงานออกแบบร่วมสมัย ฟุสุมะ นั้นถูกสถาปนิกคนแล้วคนเล่านำไปตีความและปรับใช้ในหลายแง่มุม ทั้งในแง่ประโยชน์ใช้สอย (function), ในการตอบสนองด้านความรู้สึกของผู้ใช้งาน (emotional), และในรูปแบบแนวความคิด (conceptual)

อาจารย์ชิเกรุ บัง (Shigeru Ban) สถาปนิกชื่อดังชาวญี่ปุ่น ออกแบบบ้านพักอาศัยกลางกรุงโตเกียวด้วยการแขวนผ้าม่านแทนผนังรอบบ้าน เกิดเป็นบ้าน Curtain Wall (ชื่อแปลตรงตัวเลย เพราะเป็นบ้านที่ใช้ผ้าม่านมาแทนพื้นผิวผนังจริงๆ) เพื่อตอบโจทย์ด้านประโยชน์ใช้สอยของลูกค้าที่ต้องการให้พื้นที่ภายในบ้านสามารถกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมภายนอกได้อย่างเต็มที่ เจ้าผ้าม่านยักษ์ที่สามารถเปิดหรือปิดเพื่อกำหนดขอบเขตใน-นอกบ้าน ได้ตามต้องการนี้ อาศัยหลักการเดียวกับการเลื่อนปิด-เปิดฟุสุมะนั่นเอง

https://edition.cnn.com

Steven Holl สถาปนิกชื่อดังจากทางฝั่งตะวันตก ก็เป็นอีกคนที่นำหลักการ เปิดกว้างและปิดกั้นของฟุสุมะเข้ามาใช้ในการออกแบบ Fukuoka Apartment โดยนำแนวคิดเรื่องประโยชน์ใช้สอยของฟุสุมะ มาเป็นหลัก เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยสามารถเลือกปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยได้ตามต้องการ

http://www.stevenholl.com
http://www.stevenholl.com

ในขณะเดียวกัน ในโปรเจ็กต์รีโนเวทอาคารเก่าในเมืองคามาคุระให้กลายเป็นโฮมออฟฟิศ ที่มีชื่อว่า Hojo Sanci บริัษัทออกแบบสัญชาติญี่ปุ่นเองอย่าง Schemata Architect กลับเลือกที่จะปฏิเสธการใช้บานเลื่อนฟุสุมะเป็นตัวกำหนดขอบเขตใน-นอก ตามวิถีของญี่ปุ่น ภายใต้แนวคิดที่จะคงรูปแบบ และวัสดุจากอาคารเดิมใว้ให้มากที่สุด ฟุสุมะทั้งหมดในอาคาร กลับกลายเป็นสิ่งเดียวที่ถูกรื้อถอนทิ้งโดยสิ้นเชิง เพื่อเปิด space ให้ชาวออฟฟิศ ได้ทำงานร่วมกันในบรรยากาศที่เท่าเทียม ไม่มีแบ่งกั้นฉันและเธอ แต่ใช้ความต่างของวัสดุพื้น และการเล่นระดับ เป็นตัวกำหนดพื้นที่ใช้งานแทน

Hojo Sanci
Hojo Sanci (ภาพจาก http://schemata.jp/hojo-sanci/)
Hojo Sanci
Hojo Sanci (ภาพจาก http://schemata.jp/hojo-sanci/)
Hojo Sanci
Hojo Sanci (ภาพจาก http://schemata.jp/hojo-sanci/)
Hojo Sanci
Hojo Sanci (ภาพจาก http://schemata.jp/hojo-sanci/)
Hojo Sanci
Hojo Sanci (ภาพจาก http://schemata.jp/hojo-sanci/)

ไม่เพียงแต่ในงานสถาปัตยกรรม ฉันว่าในหัวใจของคนเรานั้นต่างก็มีฟุสุมะอยู่เหมือนกัน แถมฟุสุมะของใครบางคนก็มีหลายชั้น และบางครั้งอาจจะปิดมากกว่าเปิด สำหรับฉันในฐานะไกจิน การที่ได้รับอนุญาตจากใครบางคนให้ชื่นชมความงามของฟุสุมะได้แต่เพียงจากภายนอก ก็ถือเป็นสิ่งที่ดีเพียงพอ หากวันเวลาเหมาะสม และสถานการณ์เอื้ออำนวย เราเองก็อาจได้รับอนุญาตให้ก้าวข้ามเขตแบ่ง ไปยังห้องด้านใน และก็ไม่แน่ว่าในนั้น อาจจะมีฟุสุมะอีกหลายชั้น ให้รอชื่นชมต่อก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม…นอก หรือ ใน, สูง หรือ ต่ำ เป็นเพียงคุณค่าที่ถูกสมมติขึ้นโดยมนุษย์ สิ่งที่สำคัญที่สุดจึงอาจไม่ใช่การพยายามทำให้ผู้อื่นยอมรับเรา ณ สถานะใด แต่อยู่ที่หัวใจของเราที่จะยอมรับและรู้จักคุณค่าในตัวเองมากกว่า มิใช่หรือ 😉

Did you know?

ฟุสุมะ มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยเฮอัน ซึ่งเป็นยุคสมัยที่ญี่ปุ่นมีการพัฒนาภาพวาดในแบบฉบับของตนเอง ที่มีชื่อเรียกว่า “ยามาโตะ เอะ”  ในสมัยนั้นนิยมปิดผิวฟุสุมะด้วยผ้าไหม หรือกระดาษที่จิตรกรบรรจงวาดภาพแบบยามาโตะ เอะ กระดาษที่นำมาใช้นั้น มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นในหน้าร้อนได้ดี และกันลมได้ในหน้าหนาว นับแต่นั้นเป็นต้นมา ฟุสุมะ ก็ยังคงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของบ้านสไตล์ญี่ปุ่นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนอกเหนือจากเป็นงานศิลปะหัตถกรรมที่ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมแล้ว มีการผลิตฟุสุมะอย่างแพร่หลายในระบบอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน

เรื่อง : ID19


DOUGONG (โตวกง) ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่แบกรับภาระอันยิ่งใหญ่ ในสถาปัตยกรรมแห่งเอเชียบูรพา