Studio visit SPAC3

คุยกับวิเชียร อัศววรฤทธิ์ และเจรัลดีน ตัน ในพื้นที่เล่นสนุกสำหรับดีไซเนอร์และเจ้าของบ้านแห่งใหม่นามว่า SPAC3

Studio visit SPAC3
Studio visit SPAC3

หากจะมีพื้นที่ใดซึ่งเป็นศูนย์กลางระหว่างดีไซเนอร์หรือสถาปนิก กับเจ้าของบ้านหรือเจ้าของกิจการ หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้นสตูดิโอหรือโชว์รูมแสดงสินค้า ซึ่งไม่เพียงทำหน้าที่นำเสนอทางเลือกของวัสดุในการก่อสร้างและตกแต่งกับลูกค้า แต่ยังเป็นเหมือนเพื่อนคู่คิดของดีไซเนอร์และเจ้าของบ้าน เพราะสามารถให้คำปรึกษาและสร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนการเลือกวัสดุแต่ละชนิดอีกด้วย นั่นจึงเป็นที่มาของ SPAC3 สตูดิโอที่มุ่งนำเสนอวัสดุปิดผิวภายในที่มีการสร้างสรรค์ด้วยแนวคิด ‘Playground’ จึงเปรียบได้ดั่งสนามทดลองเล่นสนุกของทั้งดีไซเนอร์และเจ้าของบ้าน ในการจับคู่ผิวสัมผัสที่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบและดีไซน์  

room ถือโอกาสนี้คุยกับคุณวิเชียร อัศววรฤทธิ์ และคุณเจรัลดีน ตัน 2 ผู้บริหารผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในวงการวัสดุปิดผิวภายในแห่ง W+G ซึ่งมุ่งหวังให้ SPAC3 ที่พวกเขาร่วมกันก่อตั้งขึ้นเป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าการมาเลือกวัสดุตกแต่งโดยทั่วไป

SPAC3
คุณเจรัลดีน ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และคุณวิเชียร อัศววรฤทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเอเค โพรดัคส์ แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้ร่วมก่อตั้ง SPAC3

room: จุดเริ่มต้นของความร่วมมือกัน

Wichien Asawaworarit: “โดยพื้นฐานผมเป็นดีไซเนอร์ และเคยทำงานเป็นผู้รับเหมามาก่อน พอได้ทำงานที่ต้องใช้ลามิเนตของ Lamitak ทำให้ผมได้ติดต่อกับคุณเจรัลดีน ด้วยความที่เราเริ่มรู้จักสินค้าและรู้สึกว่ามีความแตกต่างกับสินค้าที่มีในบ้านเรา มีดีไซน์ที่สวยน่าสนใจ หลังจากนั้นเราก็พัฒนาความสัมพันธ์ด้านธุรกิจมาเป็นพาร์ทเนอร์กัน เริ่มนำสินค้าเข้ามาขาย ลงทุนร่วมกันเปิดบริษัท TAK Products & Services ขึ้นมาแล้วต่อยอดมาเป็น W+G ในทุกวันนี้”

room: คุณมองเห็นข้อจำกัดเรื่องวัสดุปิดผิวในบ้านเรา และตั้งใจจะสร้างทางเลือกใหม่ขึ้นมาให้กับตลาดถูกต้องไหม

Wichien Asawaworarit: “ผมเรียนจบสถาปัตย์ฯ และคลุกคลีกับการใช้วัสดุอยู่แล้ว ซึ่งถ้าย้อนกลับไปประมาณ 12-13 ปีก่อน เรารู้ว่าเรามีข้อจำกัดเรื่องการหาวัสดุซึ่งจะมีแบรนด์หลักๆ อยู่ไม่กี่แบรนด์ที่เป็นสินค้าแบบเดิมๆ พอเราเห็นสินค้าของ Lamitak ทั้งในแง่ที่เราเป็นดีไซเนอร์และเราเคยใช้เพราะพื้นฐานธุรกิจครอบครัวเราเป็นผู้รับเหมาอยู่แล้ว ทำให้เราเข้าใจและมองเห็นศักยภาพในการนำเข้ามาทำตลาดในบ้านเรา เพราะเรารู้สึกว่ามันคือความแตกต่าง”

SPAC3
SPAC3

room: นั่นคือเหตุผลหลักที่คุณจึงเลือก Lamitak ก่อนแบรนด์อื่นๆ ในตอนนั้น

Wichien Asawaworarit: “เนื่องจาก Lamitak เป็นแบรนด์เอเชีย สไตล์จึงค่อนข้างเข้ากับเราได้ดีกว่า และเหมาะสมกับตลาดบ้านเรา สมัยก่อนเราอาจรู้สึกว่าลามิเนตเป็นสินค้าราคาถูก ใช้กับงานที่งบน้อยๆ แต่หลังจากผมเริ่มรู้จัก Lamitak แล้วนำเข้ามาใช้ เรารู้สึกว่าตลาดเริ่มเปลี่ยนไป ดีไซเนอร์ส่วนใหญ่ยอมรับลามิเนตมากขึ้นในแง่ของคุณภาพ ในแง่ของการดีไซน์ หลังๆ ลามิเนตสามารถพัฒนาขึ้นมามีรูปแบบและสีสันสวยงาม มีความใกล้เคียงกับธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Lamitak ที่เราเป็นเจ้าแรกๆ ที่ดีไซน์ให้เหนือขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของไม้ที่ดูมีผิวสัมผัสเหมือนจริง หรือจะเป็นหิน หรือลายผ้า ลายปูน ซึ่งแต่ก่อนไม่ค่อยมีคนทำ เราเป็นเจ้าแรกๆ ที่บุกเบิกทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้น เมื่อสินค้าใช้งานง่าย ทำให้ลดปัญหาในเรื่องของการทำงานของช่าง”

room: ในตอนนั้นคุณใช้วิธีการใดในการเปลี่ยนภาพจำของคนทั่วไปที่มองว่าลามิเนตเป็นวัสดุราคาถูก

Wichien Asawaworarit: “เมื่อก่อนลามิเนตเป็นแบบนั้นจริงๆ ก่อนที่ผมจะเจอ Lamitak ในช่วงนั้นเอง Lamitak ได้เปิดตัววัสดุปิดผิวใหม่ที่เรียกว่า Dri-matt สมัยก่อนเราจะเจอลามิเนตผิวกึ่งเงากึ่งด้าน เลยมีความรู้สึกของความเป็นพลาสติก Lamitak เป็นเจ้าแรกที่เปิดตัว Dri-matt ไม่ว่าจะเป็นสีพื้นที่ดูเหมือนสีทาหรือพ่นที่ดูด้าน ไม่เหมือนพลาสติก ยิ่งเป็นลายไม้ก็จะยิ่งเห็นความแตกต่างชัดเจน มันดูเหมือนไม้จริงมาก ส่วนที่ถามว่าเราใช้วิธียังไงมันกลายเป็นว่าพอโปรดักท์มันดี มันก็ตอบโจทย์ในตัวมันเอง เราแค่เอาไปโชว์ดีไซเนอร์ว่ามันเป็นแบบนี้ มันก็โดนใจเขาแล้ว เหมือนกับที่ทำไมผมเจอ Lamitak แล้วผมรู้ว่าทำไมมันน่าจะขายได้ เพราะฉะนั้นเวลาเราเปิดแคตตาล็อคให้ดีไซเนอร์ดูเขาจะบอกว่านี่แหละ ใช่เลย! ทำไมไม่มีใครเคยมานำเสนอแบบนี้ เลยเป็นที่มาที่เราได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นเรื่อยๆ การตลาดเลยกลายเป็นประสบการณ์ตรงของคนใช้”

SPAC3 SPAC3

room: นอกจากค้นพบเรื่องความสวยงามแล้วมีเหตุผลอื่นอีกไหม

Wichien Asawaworarit: “คือจริงๆ เรื่องของคุณภาพมันอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ลามิเนตไม่ใช่สินค้าที่มีความแตกต่างในแง่ของคุณภาพมากนัก จุดเด่นคือเรื่องของดีไซน์ เพราะเราขายดีไซน์ที่แตกต่าง นอกจากสีสันที่เหมาะสมกับตลาดเอเชีย มันก็ยังมีพื้นผิวที่ผมได้กล่าวถึงเรื่องของ Dri-matt ซึ่งยุคนั้นคนอื่นก็ยังเป็นผิวมันๆ เป็นพลาสติก แต่คอลเล็คชั่นของ Lamitak จะเป็นผิวด้านซึ่งเวลาเอาไปโชว์จะเหมือนไม้มากเลย ก็เลยเป็นที่มาที่ทำให้ทุกวันนี้คนจำ Lamitak ได้จากลายไม้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี”

room: ตอนนี้ได้พัฒนาลวดลายไปสู่ลายหินอ่อนและกราฟิกมากขึ้นด้วยใช่ไหม

Wichien Asawaworarit: “เราพยายามพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ในตลาดอยู่ตลอด วันนี้ที่โชว์เป็นคอลเล็คชั่นของ Lamitak ที่เราเรียกว่า ARTAK เป็นการพิมพ์ในระบบ Digital Print มันเป็นเทคโนโลยีอีกระดับ ซึ่งยังไม่ค่อยมีใครนำมาใช้ในธุรกิจด้านนี้ เราก็เลยนำเข้ามาเพื่อที่จะแนะนำให้กับตลาด เรียกว่าเป็นอะไรใหม่ๆ ในวงการ ซึ่งทำให้สร้างสรรดีไซน์หลายๆ อย่างที่แต่ก่อนทำไม่ได้ อย่างที่เป็นลายหินอ่อน ซึ่งเมื่อก่อนทำไม่ได้ในระบบพิมพ์ของเราเอง”

SPAC3

room: SPAC3 เป็นสตูดิโอสาขาแรกของ W+G ใช่ไหม

Wichien Asawaworarit: “จริงๆ ต้องบอกว่าเป็นสาขาแรกสำหรับผมในเมืองไทย แล้วเป็นสาขาแรกในธุรกิจนี้สำหรับ Lamitak หรือ TAK เราพยายามคิดและสรรสร้างอะไรใหม่ๆ ให้กับตลาดเสมอ ไม่ว่าจะเป็นคอลเล็คชั่นต่างๆ ที่เรามีตั้งแต่ Lamitak จนกระทั่งทุกวันนี้เรานำสินค้าแบรนด์อื่นๆ เข้ามาเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็น Dekodur Distil, Alvic, FitArt และ AluBlu มาถึงวันนี้ที่เราทำการเปิดโชว์รูม เราถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับวงการ มันเป็นสิ่งที่ดีไซเนอร์หรือคนที่สนใจเขามีกาสได้เห็นสินค้าด้วยตัวเองและเลือกใช้ได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดีไซเนอร์เลือกให้โดยที่เขาไม่รู้อะไรมาก่อน”

“ในโชว์รูมแห่งนี้เรานำสินค้าของแต่ละแบรนด์มาดิสเพลย์ในลักษณะเหมือนสภาพการใช้งานจริง นอกจากนั้นแล้วเรายังมีตัวอย่างชิ้นงานที่เป็นสีต่างๆ ให้กับลูกค้าที่สนใจจะเอาวัสดุสีนี้ไปปรับใช้ให้เหมาะกับชิ้นอื่น เราถึงทำโชว์รูมนี้เป็นคอนเซ็ปต์ที่เรียกว่า Playground ก็คือให้ทุกคนได้เข้ามาลองสัมผัส ลองเลือก ลองผสมสีที่ต่างกัน หรือวัสดุต่างกันมันออกมายังไง มันใช่ที่เขาชอบไหม เป็นการสร้างแรงบันดาลใจและสร้างไอเดียให้เขาสัมผัสด้วยตัวเอง”

room: คุณมีการวางแผนอย่างไรก่อนมาเปิดโชว์รูมนี้

Geraldine Tan: “เราได้ริเริ่มไอเดียนี้มานานกว่า 2 ปี ใช้เวลาไตร่ตรองและตัดสินใจก่อนจะมาเปิดโชว์รูมแห่งนี้เพราะเป็นช่วงจังหวะที่เหมาะสมสำหรับการทำตลาด ที่สิงคโปร์เราเริ่มต้นทำงานกันมาในช่วงหนึ่งปีก่อนหน้านี้ โดยเราเปิดตัว Lamitak Studio ขึ้นมา (ตั้งอยู่ที่ CT Hub 2 ถนน Lavender) โดยมีแนวคิดที่คล้ายคลึงกันกับที่นี่ นั่นคือเราผสานไอเดียการนำเสนอพื้นที่แสดงสินค้าสำหรับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าเข้ามาสัมผัสประสบการณ์แตกต่างในพื้นที่ที่เราออกแบบไว้”

room: อยากให้คุณช่วยยกตัวอย่างโครงการใช้วัสดุจาก Lamitak  ที่ประทับใจที่สุด

Geraldine Tan: “ขอยกตัวอย่างโครงการในสิงคโปร์นะคะ หนึ่งในผลงานที่ประทับใจที่สุดคืออาคารผู้โดยสาร Singapore Changi Airport, โรงแรม Crowne Plaza Changi Airport และโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงแรม Parkroyal on Pickering ที่เราทำงานกับ WOHA นั่นเป็นหนึ่งในผลงานที่เราภูมิใจที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งมาก็ว่าได้ เพราะหนึ่งในบริษัทออกแบบชั้นนำอย่าง WOHA เลือกใช้โปรดักท์ของเราในโปรเจ็กต์ระดับ High-end และพวกเขาชอบลามิเนตมากๆ”

room: สำหรับคุณลามิเนตเป็นเหมือนโปรดักท์ที่เป็นทางออกของนักออกแบบได้ไหม

Wichien Asawaworarit: “ลามิเนตเป็นสินค้าที่มีความนิยมมากขึ้น เพราะมันตอบโจทย์กับปัญหาหลายๆ อย่าง การที่คุณใช้วีเนียร์ราคาก็อาจจะสูงกว่า เราก็จะไปเจอเรื่องของช่างฝีมือที่ต้องทำสี เคลือบสี หรือสีพื้นเองก็ตามถ้าคุณอยากได้สีพื้น ต้องพ่นเองก็มีกลิ่น มีความยุ่งยาก ความช้า ซึ่งเราก็มีลามิเนตสีพื้น หรืออย่างหิน ถ้าเป็นหิน คุณจะเอาหินมาทำงานออกแบบก็เป็นเรื่องใหญ่ ทุกอย่างมันไปตอบโจทย์ได้เยอะขึ้น แม้กระทั่งฟีดเจอร์ที่พิเศษมากๆ อย่างเช่น ที่เป็นพวกเมทัล เราก็มีนำเข้ามาจากเยอรมัน หรือจะเป็นพวกการกันไฟ ลามิเนตสามารถทำได้เยอะแยะ เราถึงเริ่มเอาแบรนด์ต่างๆ เข้ามา อนาคตมันก็ตอบโจทย์ดีไซเนอร์มากขึ้น และมันมีฟีดเจอร์เฉพาะแต่ละแบบตามที่ลูกค้าต้องการ ผมว่ามันก็ทำให้ดีไซเนอร์เริ่มยอมรับมากขึ้นและยอมใช้ในโปเจ็กต์ระดับ High-end”

“เหตุผลหนึ่งเปิดโชว์รูมที่นี่ มันเป็นความร่วมมือระหว่าง TAK กับ W+G  ซึ่งจริงๆ แล้วภายใต้ W+G เราพยายามสร้างแบรนด์ใหม่ๆ ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นจากเอเชียหรือยุโรป เพื่อเอามาเติมเต็มสิ่งที่ดีไซเนอร์ต้องการ เพราะว่าจากที่เราทำการตลาด Lamitak มาระยะหนึ่ง เราเข้าใจว่าดีไซเนอร์มีความต้องการ บางครั้งก็มากกว่าลามิเนต มันคงเป็นไปไม่ได้แม้ว่าลามิเนตของ Lamitak จะมีสีสันและลวดลายที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าโปรดักท์หนึ่งจะเติมเต็มความต้องการของดีไซเนอร์ได้ทั้งหมด”

Did you know?

ทีเอเค ไทยแลนด์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2550 โดยเป็นหนึ่งในบริษัทเครือข่ายระดับภูมิภาคของ บริษัท ทีเอเค โพรดัคส์ แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (TAK Products & Services Pte Ltd) ที่ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นผู้นำและมีชื่อเสียงด้านวัสดุปิดผิวภายใน การตกแต่งบ้านและออฟฟิศ ปัจจุบันมีฐานลูกค้ามากกว่า 9,000 รายและกำลังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ


ที่ตั้ง :
SPAC3 ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 ห้อง A217
โครงการ K Village เลขที่ 95 ซอยสุขุมวิท 26
โทร 02 661-5049 , 063-273-900
เปิดทุกวันตั้งแต่ 10.00 –  20.00 น.

เรื่อง : ND
ภาพ : ณัฐวุฒิ เพ็งคำภู

อ่านต่อ: Spac3 สตูดิโอของนักออกแบบแหล่งรวมแผ่นลามิเนตวัสดุสุดฮิต

SPAC3