AKHA AMA LIVING FACTORY ท้องถิ่น ชีวิต กาแฟ

หากพูดถึงกาแฟไทยที่สร้างชื่อในระดับนานาชาติได้อย่างภาคภูมิ Akha Ama ต้องเป็นชื่อแรกๆ ที่หลายคนนึกถึงอย่างแน่นอน จากจุดเริ่มต้นในปี 2553 ที่ คุณลี-อายุ จือปา  หนุ่มชาวอาข่าได้เปลี่ยนวิถีการผลิตกาแฟที่เน้นปริมาณมาเป็นการผลิตแบบเน้นคุณภาพ เพื่อสร้าง “Specialty Coffee” หรือกาแฟคุณภาพดีที่สามารถทำราคาได้ดีกว่าในตลาดร้านกาแฟชั้นนำ

DESIGNER DIRECTORY
ออกแบบ: Jaibaan Studio

จากวันนั้นจนถึงวันนี้คุณลียังคงควบคุมคุณภาพทุกอย่างด้วยตัวเอง และนำพาแบรนด์ Akha Amaไปสู่อีกระดับด้วยการเปิด  Akha Ama Living Factory  ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่นี่เป็นร้านกาแฟ โรงคั่ว และในอนาคตก็วางแผนจะทำไร่โกโก้ด้วย

ที่เที่ยวเชียงใหม่

คำว่า “Living Factory” ยังสะท้อนถึงชีวิตที่ดำเนินไปในอาคารแห่งนี้ ด้วยความเชื่อในการ “อยู่ร่วมกัน” ของชาวอาข่า คุณลีตั้งใจให้ที่นี่บอกเล่าเรื่องราวของกาแฟและชีวิตที่ผูกพันกับกาแฟของชาวอาข่า อีกทั้งยังอยากให้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้เรื่องกาแฟของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

ที่เที่ยวเชียงใหม่ ที่เที่ยวเชียงใหม่ ที่เที่ยวเชียงใหม่ ที่เที่ยวเชียงใหม่

การออกแบบอาคารที่สูงโปร่งและระบายลมได้ดียังเป็นสิ่งจำเป็นต่อขั้นตอนของการคั่วกาแฟที่จะมีไอควันลอยขึ้นมา ทั้งยังได้ผลพลอยได้ซึ่งเป็นลมเย็นๆในฤดูหนาวของเมืองเชียงใหม่ด้วย

อิฐมอญทำมือและไม้เก่าที่ใช้กับอาคารหลังนี้ช่วยสร้างเรื่องราวและร่องรอยแห่งกาลเวลาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะยามต้องแสงแดดจะเกิดเป็นเงาในจังหวะที่เป็นธรรมชาติ นอกจากนี้ใจบ้านสตูดิโอยังนำงานไม้แกะมือสไตล์เมืองเหนือที่ผ่านการประยุกต์ให้ดูร่วมสมัยมาใช้ตกแต่งผนังตรงส่วนเคาน์เตอร์ สร้างความน่าสนใจได้เป็นอย่างดี

ที่เที่ยวเชียงใหม่ ที่เที่ยวเชียงใหม่

สุดท้ายแล้วนอกจากกาแฟดีๆและสถาปัตยกรรมสวยๆ Akha Ama Living Factory ยังสร้างขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะเป็นฐานการพัฒนาองค์กรและชุมชน เพื่อพัฒนาวงการกษตร ผู้ประกอบการ และผู้สนใจทั้งด้านกาแฟและการบริโภคอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆกัน

ที่ตั้ง
ตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Akha Ama Coffee
โทร. 08-6915-8600

ออกแบบ: Jaibaan Studio

เรื่อง : วุฒิกร สุทธิอาภา
ภาพ : ฤทธิรงค์ จันทองสุข


JAIBAAN STUDIO หัวใจของคราฟต์คือ “ชุมชน”


COROfield CAFÉ Everyday Farm Food ปรุงจากความรักและความใส่ใจ

5 ร้านกาแฟสุดฮิตในขอนแก่น ‘ถ้าไม่แวะเหมือนมาไม่ถึง’