ผ่ามุมมองทิศทางงานคราฟต์ของ 8 ผู้เชี่ยวชาญต่างสาขา จากเวทีเสวนา CRAFT INNOVATION GURU PANEL

Righteous Craft สร้างสร้างงานหัตถศิลป์อย่างมีจิตสำนึก

เป็นเทรนด์ที่มาจากงานแฟร์ระดับโลก อย่างงาน Maison & Objet 2018 ที่พูดเรื่องการออกแบบและการซื้อขาย จะเปลี่ยนไป การผลิตผลงานแต่ละชิ้นมีปัจจัยเชื่อมโยงในการออกแบบ คิดถึงการใช้งานเป็นหลักรู้สึกผิดต่อวัฒนธรรมแบบบริโภคนิยม ไม่ใช้วัสดุแบบทิ้งขว้าง จึงเกิดกฎเกณฑ์ใหม่จริยธรรมใหม่ ในการเลือกซื้อสินค้า ซื้อย่างถูกจริยธรรม ไม่ใช่แค่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมหรือช่วยสร้างงานในกลุ่มชุมชนที่ด้อยกว่า แต่เป็นการคำนึงถึงองค์รวม เป็นการกระจายรายได้กลับสู่ชุมชน ผลงานที่ออกมาดีไซน์เนอร์จึงใช้เรื่องราวและที่มาของสินค้าชิ้นนั้น ๆ เป็นพระเอกชูโรง แม้จะเป็นงานคราฟต์แบบเดียวกัน หน้าตาเหมือนกัน ผู้ซื้อจะเลือกชิ้นที่มีจริยธรรมและมีจรรยาบรรณในการทำงาน และมีความเฉพาะตัว เป็นต้น

คุณวุฒิชัย หาญพานิช : “เรื่องราวดี ๆ หรือเรื่องจิตสำนึกมันเป็นเรื่องรองมากกว่าจะเอามันมาเป็นตัวหลัก มันต้องกลับมาที่ตัว Product การทำสินค้าขายความจริงมันง่ายนิดเดียว ตราบใดที่สินค้าคุณดูแพงกว่าราคาที่คุณตั้งขาย มันขายได้ด้วยตัวของมันเอง”

“ก่อนที่เราจะเข้าไปสนับสนุนใคร เราต้องทำความเข้าใจกับความต้องการของมันว่าตัวเขามองตัวเองเป็นอะไร เขาจะทำงาน Mass ผลิตของเป็น 1,000 ชิ้น หรือเขาจะมีความสุขกับแค่ทำงานไม่กี่ 10 ชิ้น แล้วเราถึงจะเข้าใจว่าเราจะทำยังไง คือถ้าเราเข้าใจเป้าหมายชีวิตว่าความสุขของเขาคืออะไร เขาต้องการอะไร แล้วเรามันจะเป็นความสมดุลของเรา ระบบของธรรมชาติของมัน ซึ่งถ้าเขา Happy จะขายเป็นงาน Art เราให้เขาพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ให้สวยให้เจ๋งและให้ดูมีคุณค่าเต็มที่เลย ทำยังไงให้ขายได้แพงที่สุด channel ไหน ขายเป็นงาน Art นะครับ คือเราต้องดูก่อนว่าคนที่เราจะไปสนับสนุนเป้าหมายชีวิตเขาต้องการทำอะไร เขา Happy ได้แค่ไหน ไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะทำที 1,000 ชิ้น หรือ 10,000 ชิ้นได้”

คุณกิตติภัต ลลิตโรจนวงศ์ : “ศักยภาพและความเหมาะสมของงานคราฟต์มันไม่ได้เป็น product สำหรับทุกคน ทุกคนไม่ได้ value มัน จะต้องดูว่าจะมีแค่บางคนหรืออาจจะเป็นบางช่วงวาระ บางวาระที่งานคราฟต์สามารถไปอยู่ในจุดที่ถูกที่ถูกทางและมันเป็น value ออกมา ซึ่งมันก็จะไปตอบที่ว่าทำยังไงให้มันดูมี value เกินกว่าตัวมัน”

คุณศรัณย์ เย็นปัญญา : “ทุกวันนี้ถาม maker ก็คือคุณลุงคุณป้าก็จะบอกว่า การทำที่ยากที่สุดแล้วก็กินเวลาที่สุดคือการเหลาไม้ไผ่ เราก็มาคิดว่า เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้นเราใช้อุตสาหกรรมเข้ามาช่วยเรื่องของการทำวัตถุดิบ หรือการจัดเตรียมวัตถุดิบแต่ว่าทักษะของเรื่องการฝีมือมันยังอยู่ core value คือเรื่องของทักษะฝีมืออย่างนี้ตลาดรับได้ไหม idea นี้มาจากส่วนหนึ่งจากการหารือกับทางไต้หวัน หรืออย่างเกาหลีจะมีเครื่องมือในการจัดเตรียมวัตถุดิบไว้ค่อนข้างดี แล้วก็ต้นทุนจะต่ำมากเมื่อวัตถุดิบมันดี คนที่เป็น maker แค่เพิ่มทักษะเข้าไปบางส่วน ถ้าการทำในลักษณะนี้มันจะทำให้ value ของงานคราฟต์มันลดลงไหมในแง่ของผู้บริโภค”

Craft Innovation GURU Panel

คุณพิษณุ นำศิริโยธิน : “ผมคิดว่า maker ก็อยู่บนโลกซึ่งเร็วเหมือนคนอื่นเวลาทำงาน ผมต้องพิจารณาจริงๆ คัดแยกจริงๆ ครับว่างานส่วนไหนควรจะเป็นเครื่องจักรแล้วทำไปตรงๆ ซึ่งอย่างงานไม้ของผมขั้นตอนของการไสปรับไม้ผมไม่ใช้ Hand tools ผมใช้เครื่องจักร อย่าไปหมดเวลาการทำงานด้วยมือ อย่างเฟอร์นิเจอร์ผมก็คัดแยกประเด็นถ้าอย่างนั้นผมก็จะ Keep บางอย่าง เช่น การเลือกวางไม้ซึ่งอันนี้เครื่องจักรทำไม่ได้ ยังไงผมก็จะทำงานเข้าไม้ซึ่งทำด้วยค้อน สิ้วธรรมดาแต่มัน Practical การผสมกันอย่างทางออกของผมเอง ผมก็รู้สึกว่ามันก็พอเป็นไปได้กับการผลิตจริงๆ แล้วเวลา Product ออกมาจริง ๆ เราก็ยังรู้สึกว่าคุณค่าของงานที่มันทำด้วยคนมันยังปรากฏอยู่”

 Craft Innovation GURU Panel

Hospita (sur) reality โลกเหนือจินตนาการของการหลีกหนีความจำเจ

สำหรับคนยุคนี้ โรงแรมคือพื้นที่สำหรับการหลบหนีความวุ่นวาย เพื่อปรนเปรอจิตวิญญาณด้วยจินตนาการเหนือจริง เป็นโลกอีกใบที่พาเราออกจากบรรยากาศเดิมๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งไปจนถึงงานออกแบบสเปซเพื่อการพักผ่อนและอุตสาหกรรมบริการจึงต้องมีความโดดเด่นแปลกใหม่ และนี่คือโอกาสที่งานคราฟต์พื้นถิ่นสุดวิจิตรจะได้รับการประยุกต์ให้ร่วมสมัย เพื่อพลิกมุมมอง และสร้างบรรยากาศหวือหวา แฟนตาซีให้กับสเปซแห่งโลกเสมือนนี้

Craft Innovation GURU Panel

คุณธนพัฒน์ บุญสนาน: “ต้องแยกเรื่องคราฟต์กับเรื่อง material กันออกมาก่อน เทรนด์นี้จริงๆ แล้วผมอยากยกตัวอย่างไม้ไผ่ มันชัดกว่า แล้วผมก็ถนัดด้วย คือจริง ๆ แล้ววงการอุตสาหกรรมแบบนี้มันมาฮิตใน Southeast Asia แล้วเพราะว่าฝรั่งชอบมัน ฝรั่งชอบมันคนไทยจึงชอบมัน ก่อนหน้านี้ 10 ปีไม่เคยมี ฝรั่งเข้ามาจัดการงานไม้ไผ่ในบาหลีที่เขาทำไม้ไผ่อยู่แล้ว ฝรั่งเข้ามาจัดการให้มัน sustainable คราฟต์บวกกับงานดีไซน์ บวกกับงานวิศวกรรม บาหลีเลยเป็น model ที่ sustainable แล้วก็เป็นไปที่ nature craft ที่ชัดเจนที่สุด”

“เราต้องยอมรับว่า จริง ๆ แล้วการกำหนดเทรนด์พวกนี้เรา follow ต่างชาติอยู่พอสมควร ที่เขาเห็นคุณค่าของไม้ไผ่ เพราะไม้ไผ่เป็นพืชเมืองที่ไม่ขึ้นอยู่ที่ยุโรปเลย นั่นหมายถึงกับข้อเดียวกับที่เราบ้าหินอ่อนจากอิตาลีมาก เพราะว่าเราไม่มีลายหินอ่อนสวยขนาดนั้นเลย เพราะฉะนั้นอุตสาหกรรมแบบนี้ การตกแต่งแบบนี้ไม่มีวันที่จะตกเทรนด์”

Craft Innovation GURU Panel

เรืยบเรียง : Nawapat D.
ภาพ : อนุพงษ์