ผ่ามุมมองทิศทางงานคราฟต์ของ 8 ผู้เชี่ยวชาญต่างสาขา จากเวทีเสวนา CRAFT INNOVATION GURU PANEL

Retelling the details ตอกย้ำถึงคุณค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าของสินค้าในสายตาผู้บริโภค

การตอกย้ำถึงคุณค่าผลิตภัณฑ์ นำเสนอเรื่องราวเชิงลึกในรายละเอียดซึ่งมีอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ที่กว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการในฐานะผู้นำเสนอผลิตภัณฑ์นั้นต่อกลุ่มลูกค้า ที่สำคัญต้องให้ลูกค้าทราบถึงความใส่ใจหรือความเชี่ยวชาญที่มี ซึ่งผลต่อมูลค่าของสินค้าในสายตาผู้บริโภค ทั้งนี้อาจนำเสนอได้ทั้งการเล่าประวัติศาสตร์ของแบรนด์ ประวัติศาสตร์ของผลิตภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ของชุมชน การเฉลิมฉลองวาระครบรอบ การรีดีไซน์ผลิตภัณฑ์เดิม การต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมให้มีเรื่องราวเพิ่มขึ้น การเล่าเรื่องเดิมในบริบทใหม่ รวมไปถึงการออกแบบใหม่จากดีไซน์เดิมด้วยรายละเอียดที่ใส่ใจมากขึ้นเป็นต้น

คุณพิษณุ นำศิริโยธิน :  “เรื่อง craftsmanship เป็นเรื่องสำคัญ ในมุมของผมโลกของคนเป็น maker ตัว material มันมาทีหลัง ความสำคัญมันไม่ใช่แค่เรื่องมูลค่า มันเป็นเรื่องของคุณค่าด้วย คุณค่าของการฝึกฝน ตอนนี้ผมอยู่กาฬสินธุ์ เริ่มไปทำงานกับชุมชนชาวนา การได้ทำงานมันมีความหมายกับชีวิตของคนทำมาก ถ้าคนทำวางใจถูกที่ มันเป็นเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิตเลยนะครับ ลึกๆ แล้วผมว่าช่างถ้าอุทิศตัวให้กับงาน งานนั้นผมว่าตัวคุณค่ามันเป็นเรื่องจิตวิญญาณ”

คุณสมชัย ส่งวัฒนา: : “ถ้าอยากจะมีความยั่งยืนผมคิดว่าเราต้องซื่อสัตย์ วันนี้โลกใบนี้ต้องการความซื่อสัตย์ มากกว่าคำพูดเพื่อประโลม ปลอบใจแล้วก็ขอไปที ความซื่อสัตย์เป็นความจีรังซึ่งมันจะก่อให้เกิด image แล้วมันจะกลายเป็น branding ถ้ามันเกิดขึ้นคือ massage ที่ยิ่งใหญ่”

Craft Innovation GURU Panel

คุณกิตติภัต ลลิตโรจนวงศ์ “เรื่องเล่าเป็นสิ่งสำคัญ เรื่องเล่าทำให้ของที่หน้าตาเหมือน ๆ กันมีมูลค่าแตกต่างกันไป ส้มลูกกลม ๆ ลูกหนึ่ง มีสติ๊กเกอร์แปะกับไม่มีสติ๊กเกอร์แปะ ราคาไม่เหมือนกัน แต่การที่จะให้ทุกคนเป็นนักเล่าเรื่องนั้นไม่ง่าย ต้องมีความเข้าใจวิธีพูด วิธีคิด สื่อสารสิ่งที่ตัวเองทำออกไปให้คนอื่นหลงรักสิ่งที่เราทำออกมา”

“ถ้าคุณมีคุณลักษณะอะไรที่เป็นพิเศษแล้ว พัฒนาสิ่งนั้นให้เป็นคุณค่าที่มีความรู้สึก สิ่งที่เราทำมีอะไรที่คิดว่าพิเศษ แล้วเราจะเล่าแต่เรื่องคุณงามความดีของเรามุมเดียวก็ไม่ประสบความสำเร็จ มันเหมือนกับว่าเราปรบมืออยู่ข้างเดียว ดังนั้นเราต้องการมือหนึ่งอีกข้างขึ้นมาปรบมือด้วย เราก็ต้องรู้ว่า target หรือ audience เขามองหาอะไรอยู่ เราพูดแต่เรื่องความพิเศษแตกต่างของเรา แต่ว่ามันไม่ไปสอดคล้องกับชีวิตของเขา คุณค่าที่เข้ายึดถืออยู่คืออะไรถ้าเราไม่เข้าใจ ไม่รู้จักกับกลุ่มเป้าหมาย ก็อย่าหวังว่าจะไปจีบติด”

“การทำงานเรื่อง brand หรือ branding กับ marketing ต่างกัน marketing เป็นเรื่องของการขายของแต่ branding คือการทำให้เราเข้าไปอยู่ในใจของคน โดยที่เขาไม่ต้องใช้ความคิดแต่ว่าเขารู้สึกได้แค่เห็นโดยที่ไม่ต้องมีใครมาบอกเล่า สินค้าผลิตภัณฑ์หรือหัตถศิลป์ชิ้นไหนก็ตาม หรือชุมชนไหนก็ตามสามารถที่จะเล่าเรื่องพิเศษหรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นไปได้สอดคล้องกับสิ่งที่เขามองหา ก็คือรู้ว่าอะไรเป็นจุดโดด จุดเด่นกับจุดโดนนั้นมันก็คือ Power”

Craft Innovation GURU Panel

คุณดุลยพล ศรีจันทร์: “story มี 2 แบบ คือแบบที่จับต้องได้ กับจับต้องไม่ได้ คนส่วนใหญ่ชอบเรื่องที่จับต้องไม่ได้ เพราะว่ามัน touch เหมือนที่เราได้ฟังเรื่องที่มันอิ่มใจอ่ะ สิ่งที่ทำให้ Product อยู่นานมันคือเรื่องที่จับต้องได้ คือเรื่องที่เป็น fact เรื่องที่มันซื่อสัตย์ คนทำคราฟต์ต้อง balance ให้ได้ เพราะว่าสมมุติว่าเราไปเจอชุมชนหนึ่ง เราก็เล่าว่าเขามีความดีงามมากมาย จากรุ่นคุณยาย ส่งมาสู่คุณแม่ ส่งมาสู่เขาด้วยวิธีการผลิตแบบนี้ แต่ fact คือ 3 generation แล้ว คุณไม่ได้พัฒนาอะไรเลย strategy ไม่ทำ serial ไม่ทำ คนทำคราฟต์มี passion คือเขาอยากทำเพราะเขาชอบทำ แต่ว่าสิ่งที่ไม่มีคือ strategy เราจะให้คราฟต์มันไปข้างหน้า”

“ผมมองว่า SACICT คือ strategy หมายความว่าเข้าไปช่วยชาวบ้านโดยส่ง designer เข้าไป หาช่องทางการจำหน่ายให้ ทีนี้คนที่ส่งเข้าไปก็สำคัญมาก ถ้าหมู่บ้านเจอ designer ครั้งแรก เขาจะตื่นเต้นมากเลยมีคนมาช่วยออกแบบให้ เขาคาดหวังในทันทีเลยนะครับว่าสิ่งที่คุณได้ออกแบบมันต้องขายกระจุย ต้องนำความกินดีอยู่ดีมาให้ ซึ่งในความเป็นจริงมันไม่ใช่แบบนั้นมันมีขั้นตอนต่อจากนั้นอีกมากมายวิ่งเข้ามาซึ่งเขาจะต้องเรียนรู้ สิ่งที่สำคัญมากก็คือ passion strategy ต้องมีความต่อเนื่องในรูปแบบที่แสดงให้เขาเห็นว่าของเขาไปได้ไกลจริงๆ อีกเรื่องก็คือเรื่อง CSR ก็คือมันจะมีวิธีการ combination แบบเป็น third party ผมมองว่าเราต้องให้ชาวบ้านเป็น factory หรือเป็น Brand ก่อนเพื่อที่จะผลิตขายตามงานระดับจังหวัด มาเมืองทองบ้าง หรือว่าใครสั่งเยอะ อันนี้คือ ประเด็นก้อนใหญ่ ๆ ถ้าเราต้องการทำตลาด”

คุณธนพัฒน์ บุญสนาน: “ผมทำงานไม้ไผ่ ผมไม่ได้ใส่ใจเรื่องเทรนด์หรือว่า Story มากนัก บางทีเราไม่ต้องไปบอก Story ของเรามาก บางทีเขายัดเยียดให้เราเป็น คนไทยเรามองว่าไม้ไผ่มันดูไร้ค่า มองว่าเป็นปัญหา แต่ผมมองว่ามันไม่ใช่ปัญหา มีคนที่ชอบไม้ไผ่มากพอแล้ว ฝรั่งที่มาหาผม ชวนผมไปทำงานเวทีดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ เขาต้องการเสร็จงานรวดเร็ว เปิดแล้วก็จบไป นี่คือ Potential ของไม้ไผ่ เราจะทำงานให้มันเนี้ยบมากไม่ได้เพราะว่าไม้ไผ่มันไม่เคยตรงกันเลย เวทีคอนเสิร์ตไม่มีใครมาสนใจว่ามันจะเนี้ยบแค่ไหน หรือว่าจับมันคราฟต์มากแค่ไหน แต่อยู่ดีๆ  ฝรั่งมาบอกผมว่าผมเลือกคุณเพราะว่าคุณเป็นคราฟต์ แค่ใช้ material ธรรมชาติให้รวดเร็วและสวยงามนั่นคือคราฟต์”

Craft Innovation GURU Panel

คุณศรัณย์ เย็นปัญญา“ถ้าจะเป็นนักเล่าเรื่องที่ดี อย่าเอาเปรียบผู้บริโภค ผมมองว่าจริง ๆ แล้วการเล่าเรื่องคือไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องโม้ฝอยฟุ้งอะไรลงไป แต่มันคือการนำเสนอสินค้าให้น่าสนใจที่สุด หลาย ๆ ครั้งผมมองว่างานของไทยเราให้ความสำคัญกับต้นน้ำ ชอบที่ designer เข้าไปเพื่อช่วยกันคิดค้นและพัฒนาต้นแบบ จริง ๆ แล้วบางทีเราอาจจะไม่ต้องไปต้นน้ำก็ได้ เราสามารถหยิบข้าวของอะไรที่มันดีอยู่แล้วมาปรับปรุงก็ได้”