ฟื้นซากตึกแถวเก่าให้กลายเป็นบ้านพักอาศัยที่กลมกลืนไปกับบริบทเมืองสงขลา

ตึกแถวเก่า
ห้องพักผ่อนครอบครัวอยู่บนชั้น 2 ของส่วนตึกไม้ ตกแต่งด้วยไม้ตะเคียน คืนบรรยากาศเก่าแก่ให้บ้าน

ในแง่การใช้งาน ตึกปูนได้รับการออกแบบให้อยู่ชิดกับ ตึกแถวเก่า ของเพื่อนบ้านประกอบด้วยที่จอดรถ โถงบันได ครัวพื้นที่ซักล้าง และห้องนอน ในขณะที่ตึกไม้ถูกวางชิดอยู่ตรงฝั่งหัวมุมถนน จากทิศทางที่ตั้งจึงบังคับให้ต้องเปิดบ้านรับกับถนนทั้งสองฝั่งเพื่อทำการค้า โดยชั้นล่างจัดให้เป็นพื้นที่รองรับร้านข้าวสตู ส่วนชั้นเหล่าเต๊งจัดให้เป็นห้องพระและห้องพักผ่อนบรรยากาศเปิดโล่ง รับแสงและอากาศภายนอกตามลักษณะเดิมของเหล่าเต๊งที่เคยเป็นมา ส่วนพื้นที่ระหว่างตึกไม้กับตึกปูนถูกเชื่อมต่อกันด้วยโถงทางเดินภายในที่สอดประสานการใช้งานทั้งหมดไว้ด้วยกันอย่างลงตัว

ตึกแถวเก่า
บริเวณโถงทางเดินชั้น 2 ที่เชื่อมระหว่างห้องนอนสองห้องของเจ้าของ สถาปนิกได้ออกแบบสิ่งที่เรียกว่า “Innovative Interior Window” ไว้ภายใน เพื่อช่วยเปิดมุมมองให้ทั้งสองห้องมองเห็นกันและกันได้ อีกทั้ง ยังช่วยให้เกิดสภาวะ Cross Ventila-tion อากาศภายนอกและภายในหมุนเวียนถ่ายเทได้ดีแทบทุกส่วนของบ้าน
ตึกแถวเก่า
ห้องนอนบนชั้น 2 ในส่วนตึกปูน รื้อฟื้นองค์ประกอบของบ้านเก่าแบบ “ชิโน – ยูโรเปียน” กลับมา
ตึกแถวเก่า
ในส่วนของบ้านไม้ สถาปนิกได้รื้อฟื้นหลังคาแบบเดิมให้กลับมา โดยใช้ จั่วหลังคาซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของอาคารโบราณ แล้วออกแบบสกายไลท์กรุกระจกแทรกเข้าไปกับหลังคากระเบื้องดินเผา เพื่อนำ แสงธรรมชาติแบบ Indirect Light ให้ส่องเข้ามาในปริมาณที่พอเหมาะพร้อมกับซ่อนรางน้ำฝนป้องกันการรั่วซึมไว้อีกชั้น
ตึกแถวเก่า
โถงบันไดเป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ เพื่อนำแสงธรรมชาติให้ส่อง เข้ามาถึงกลางบ้าน จึงออกแบบหลังคาด้านบนเป็นสกายไลท์กรุกระจกช่วยเพิ่มความสว่างได้อย่างทั่วถึงแต่ไม่ร้อน ด้วยการออกแบบเป็น Stack Ventilation โดยสัมพันธ์กับการออกแบบบันไดกึ่งบันไดเวียน มีช่องตรงกลางระหว่างบันไดแบบคู่ขนาน แสงสว่างจากสกายไลท์ จึงสามารถส่องลงมาได้จากชั้น 3จนถึงชั้น 1

บ้านเกียดฟั่งหลังนี้ได้รับรางวัล “ASAEmerging Architecture Silver MedalAward 2017” จากสมาคมสถาปนิกสยามฯด้วยการเป็นอาคารเกิดใหม่ที่สร้างปรากฏ-การณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งให้กับเมืองเก่าสงขลา ภายใต้บริบทของการเป็นเมืองประวัติศาสตร์ ศูนย์กลางการค้าและเมืองท่าในอดีต สะท้อนเรื่องราวส่วนหนึ่งผ่านรูปแบบของตัวอาคารซึ่งยังมีผู้พักอาศัยและทำการค้า มีเสน่ห์ดึงดูดให้ผู้คนเดินทางมาท่องเที่ยวเยี่ยมชมวิถีชีวิตกันอย่างคึกคักเกิดภาพการผสมผสานวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ให้เข้ากับอาคารโบราณที่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและปรับตัวตามกาลเวลาโดยไม่ทิ้งรากเดิมแต่อย่างใด

เรื่อง: กรกฎา
ภาพ: ธนวัฒน์ สร้อยนิติรัตน์
ออกแบบ: คุณปกรณ์ เนมิตรมานสุข และคุณแสงธรรม พรมเล็ก (Pakorn Architect)


JOSH HOTEL เติมเต็มการใช้ชีวิตที่ไลฟ์สไตล์โฮเทลย่านอารีย์

รีโนเวตโกดัง เป็นสำนักงานโปร่งโล่ง ของ Yell Advertising