บ้านและสวนแฟร์ 2022
28 ต.ค. - 6 พ.ย. 2565
อิมแพ็ค เมืองทองธานี
เก้าอี้จากคิ้วบัว

เก้าอี้เชิงทดลอง คำถามถึงอดีตและปัจจุบัน

เก้าอี้จากคิ้วบัว
เก้าอี้จากคิ้วบัว

เก้าอี้จากคิ้วบัว สองตัวนี้จัดแสดงครั้งแรกขึ้นในเทศกาล Chiang Mai Design Week 2017 ในนิทรรศการ Anonymous Chair ณ ท่าแพ อีสต์ จุดประสงค์จริงๆ แล้วของดีไซน์ชิ้นนี้ไม่ได้อยู่ที่การนั่ง หรือการใช้งานแบบเก้าอี้ที่ควรเป็นแต่อย่างใด

DESIGNER DIRECTORY
ออกแบบ: PHTAA Living Design

แต่ เก้าอี้จากคิ้วบัว ชิ้นงานนี้ซึ่งตั้งคำถามให้กับ การผลิตวัสดุแบบงานคราฟต์ และวัสดุที่เกิดจากแนวคิดแบบอุตสาหกรรมว่า ในรูปทรงที่แลดูละม้ายคล้ายกันนี้ มันมีที่มาที่ไปแตกต่างกันอย่างไร

เก้าอี้จากคิ้วบัว
พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล, หฤษฎี ลีละยุวพันธ์ และธนวรรธน์ ปัจฉิมะศิริ จาก PHTAA Living Design

ทาง PHTAA ได้อธิบายเก้าอี้ที่เกิดจากการประกอบกันของคิ้วบัวตกแต่งนี้ว่า “เริ่มมาจากการอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ที่เปรียบเทียบเรื่องคราฟต์ในอดีต กับคราฟต์ในปัจจุบัน ที่คนจะพูดถึงเรื่อง Digital Craftsmanship กันมากขึ้น เราจึงไปคิดถึงองค์ประกอบเชิงสถาปัตยกรรมอย่างบัวตกแต่ง ที่สมัยก่อนมันเริ่มมาจากงานคราฟต์ กับบัวพอลิยูรีเทนที่ฉีดจากโรงฉีดพลาสติก เราก็เลยเอามาออกแบบเก้าอี้สองตัวที่ใช้วัสดุแตกต่างกัน แต่ว่ามีโครงสร้าง และหน้าตาที่เหมือนกันเป๊ะ กลายเป็นเก้าอี้ที่ให้อารมณ์แตกต่างกัน”

เก้าอี้จากคิ้วบัว

“การอยากก้าวข้ามผ่านเทคโนโลยีต่างๆ การพัฒนา ดัดแปลง ขีดความสามารถของวัสดุมันเกิดขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกับเราดูหนัง สมมุติเราดูหนังเรื่องเดิม แต่มันมีการรีเมค มันก็ทำให้เราลิ้มรสอะไรที่มันมากขึ้น เก้าอี้เรื่องเดิมพอเรามาเล่าใหม่อีกที มันก็อาจจะไม่เหมือนเดิมก็ได้ ผมคิดว่าคนเป็นดีไซเนอร์มันต้องมี input บางอย่างในตัว พอเราได้เห็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นใหม่ปุ๊ป มันก็อดไม่ได้ที่จะหยิบมาใช้กับงาน ผมว่ามันคือคุณลักษณะของดีไซเนอร์ที่ดี ที่เราจะไม่ได้หยิบของเดิมๆ มาใช้ตลอดเวลา”

โดย PHTAA ยังได้ให้ขยายความการทำงานของพวกเขาไว้ว่า “เราเกิดจากดีไซเนอร์ 3 คน ที่เป็นวัยเดียวกันก็เลยพยายามทำอะไรที่มันใหม่ และสนุกกับโปรเจ็กต์ที่ได้รับ ซึ่งเรายึดมั่นคำอยู่ 3 คำที่เอามาทำให้เกิดผลงาน คำแรกคือ อิสระ เราจะไม่ยึดติดกับโจทย์ว่ามันเป็นงานที่น่าเบื่อหรือเป็นโปรเจ็กต์หาเงิน คำต่อมาคือคำว่า ประติมากรรม คือรายละเอียดบางอย่างมันไม่ได้เกิดจากฟังก์ชั่น ดีไซน์มันปฏิเสธไม่ได้ที่ฟังก์ชั่นมันมาพร้อมกับความงาม ความจรรโลงใจมันก็อาจกลายมาเป็นฟังก์ชั่นที่มันเกิดขึ้น คำที่สามคือ ความคลุมเครือ พวกเราชอบเบรนสตรอมกันเวลาทำงาน ความคลุมเครือที่เกิดขึ้นว่า มันจะสวยไหม จะประสบผลไหม มันความรู้สึกแปลกๆ ที่เราสัมผัสได้ เป็นผลให้เกิดอะไรใหม่ๆ อยู่เสมอ”


รุ่น: Autonomous Chair

ออกแบบโดย: พลวิทย์ รัตนธเนศวิไล, หฤษฎี ลีละยุวพันธ์ และธนวรรธน์ ปัจฉิมะศิริ จาก PHTAA Living Design


พบกับ

The Chairmen of Thai Design

นิทรรศการเก้าอี้โดยดีไซเนอร์ไทย…ที่จะทำให้คุณอยากจะมีเก้าอี้ใหม่เพิ่มขึ้นสักตัว

ในงานบ้านและสวนแฟร์ Select ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

30 พฤษภาคม ถึง 3 มิถุนายน 2561 

ชมเก้าอี้ผ่านมุมมองด้านดีไซน์จาก 30 ดีไซเนอร์ ที่นี่

keyboard_arrow_up